ที่มา เอกสารเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ ชุดภุมิปัญญา
www.ldd.go.th
คุณณรงค์ สิทธิพันธุ์ เกษตรกรทำนาในพื้นที่ชลประทาน เจ้าของนาทุ่งโพธิ์ชัย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรีเป็นเกษตรกรอีกผู้หนึ่งที่เป็นสมาชิกเครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษ ซึ่งทำนาแบบเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่ 50 ไร่ ผลิตข้าวที่ปลอดภัย ได้คุณภาพเพื่อเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าแนวทางของเกษตรอินทรีย์นี้ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรมุ่งสู่รวมทั้งยังเป็นแปลงนาเรียนรู้ของทางชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนที่อินทร์บุรี จังหวัดจันทบุรี
ช่วงปีแรกที่เราทำก็แย่หน่อย เพราะเรายังไม่ค่อยถนัดได้เรียนรู้อยู่ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้องและอีกหลายที่ ปีแรกปัญหาเรื่องหญ้าเป็นปัญหาใหญ่เลยหญ้ามันขึ้นรก เบียดข้าวหมด ข้าวมันโตไม่ทันหญ้าผลผลิตก็เลยได้ไม่เต็มที่ เริ่มแรกก็ได้ผลผลิตข้าวแค่ 50ถัง/ไร่ เราก็เริ่มจากการไม่เผาฟาง นำฟางมาหมัก นำน้ำจุลินทรีย์ไปหมักฟางเพื่อให้มีการย่อยสลายเร็วขึ้น รวมทั้งเราก็ปรับสภาพดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักเองจากขี้เค้กละอองข้าว รำอ่อน มูลเป็ด มูลไก่ และก็ใช้แร่เพอร์ไรท์มาช่วยเพิ่มแร่ธาตุให้แก่ดิน มันทำให้ดินดีขึ้นเรื่อยๆต่อมาผลผลิตก็เพิ่มขึ้นเป็น 70 ถัง/ไร่ จนปัจจุบันอยู่ที่ 100กว่าถัง/ไร่ ทำไปนานๆ ปุ๋ยก็จะใช้น้อยลง โรคแมลงก็ไม่มีมารบกวน หญ้าก็น้อยลง เพราะการหมักฟางจะเกิดความร้อนเป็นการฆ่าหญ้า ฆ่าเชื้อโรคไปในตัว เราจะทำนาหว่านการคุมหญ้าให้หมดไปต้องทำแบบนาดำ ตอนแรกเราใช้ข้าวพันธ์ หอมปทุมฯ ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นพันธ์สุพรรณบุรีใช้เวลา 120 วัน ข้าวที่ได้มีคุณภาพดีมาก โรงสีที่ซื้อข้าวไปเขาก็บอกว่าเมล็ดข้าวแต่งดี ข้าวเต็มเม็ด ไม่เป็นท้องปลาซิว ตอนที่ข้าวออกรวงก็อองรวงแน่น รวงใหญ่ ต้นข้าวเขียวสดไม่เหลือง รากข้าวถอนได้ง่าย รากขาว แข็งแรงมีรากในการดูดซึมอาหารมาก” นายณรงค์ กล่าวแต่การปลูกข้าวในพื้นที่ชลประทานแม้จะมีน้ำเพียงพอ ปลูกข้าวได้ปีละ 3 ครั้ง แต่ก็เป็นการใช้ดินอย่างหักโหมหากมีการพักดิน ให้ปุ๋ยก็จะเป็นการช่วยให้ดินมีการปรับตัวฟื้นฟูตัวเองขึ้นมาได้ รวมทั้งการเลือกช่วงเวลาในการทำนาทั้ง 3 ครั้ง ให้มีความเหมาะสมก็เป็นส่วนช่วยให้เกษตรกรมีระบบการบริการจัดการแปลงของตนเองที่ดีด้วย จากประสบการณ์การทำนาของชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนจะแบ่งช่วงการทำนาออกเป็นช่วงดังนี้
ครั้งที่ ระยะเวลาการปลูกข้าวที่เหมาะสม
การปลูกข้าวครั้งที่ 1 ควรปลูกต้นเดือนกรกฎาคม จะเกี่ยวได้เดือนพฤศจิกายน จะได้ราคาดี โรคแมลงรบกวนน้อย
อากาศดี ผลผลิตเพิ่ม อากาศไม่หนาว ข้าวจะออกสมบูรณ์ดี
การปลูกข้าวครั้งที่ 2 ควรปลูกเดือนธันวาคม จะเกี่ยวเดือนมีนาคม อากาศไม่ร้อน แมลงไม่มี เพราะอากาศ
ช่วงหนึ่งหนาวเย็น แมลงจะพักตัว ราคาข้าวจะแพงกว่าช่วงอื่น
การปลูกข้าวครั้งที่ 3 ควรปลูกถั่วบำรุงดินแล้วไถกลบในช่วงถั่วออกดอก ช่วงนี้ไนโตรเจนที่ปมรากถั่วจะสูง
จะช่วยบำรุงดินและพักดินไปในตัว
คุณณรงค์ สิทธิพันธุ์ แนะนำว่าข้อสำคัญเราจะต้องไม่เผาฟางเพราะมันจะเป็นตัวปรับปรุงดินอย่างดี เป็นการช่วยให้การทำนาง่ายขึ้น ควรจะทำการหมักฟางตลอดทุกปี เพื่อให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น โดยปกตินาเคมีต้องทำการไถดินถึง 4 รอบ แต่ทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ไถเพียง 2 รอบ ดินมีความร่วนง่ายต่อการไถ เป็นการช่วยให้การทำนามีความเหนื่อยน้อยลง ประหยัดต้นทุนเพราะปุ๋ยก็ทำใช้เอง เครื่องจักรทางการเกษตรระยะเวลาในการใช้ก็น้อยลง
การทำนาอินทรีย์ด้วยวิธีการหมักฟาง (ประสบการณ์ชมรมเพื่อนฯ)
การเตรียมเมล็ดข้าวปลูก
เมล็ดข้าวปลูกจะซื้อที่มีการคัดเมล็ดไว้เรียบร้อยแล้วมาทำการแช่น้ำ 2 วัน 2 คืนในน้ำหมักชีวภาพ 5 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร ใช้ซีเมนต์บล็อคก่อขึ้นเพื่อแช่กระสอบข้าวปลูก
การหมักฟางในนาข้าวเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ
ทำการกระจายฟางข้าวให้ทั่วแปลงนา ใช้ปุ๋ยหมักตักไปหว่านในนา โดยหว่านลงบนฟางเลย เมื่อหว่านเสร็จก็ทำการใช้รถลากวนไปมาจากนั้นให้ทำการสูบน้ำใส่โดยผสมน้ำจุลินทรีย์ลงไปพร้อมกับน้ำที่ปล่อยเข้าแปลงนา ปล่อยน้ำลงไปจนท่วมนาโดยพื้นที่ 1 ไร่ใช้น้ำจุลินทรีย์ 5 ลิตรผสมกับน้ำ 200 ลิตรและกากน้ำตาล 5 กก. ทำการหมักฟางในนาทิ้งไว้ 15 วันเมื่อครบ 15 วันฟางข้าวจะมีการย่อยสลาย ให้นำรถมาตีดิน ย่ำทำเทือก แล้วทำการหว่านข้าวปลูกได้เลยในกรณีที่ไม่รีบทิ้งไว้อีก 10-15 วัน จะมีหญ้าและเมล็ดข้าวที่ตกค้างในนางอกขึ้นมา ทำการกำจัดออก ต่อจากนั้นให้ทำเทือกและหว่านกล้า วิธีการนี้เป็นการช่วยลดจำนวนหญ้าอีกทางหนึ่ง
ระยะเวลาการให้ปุ๋ยหลังจากหว่านกล้า
20-30 วันหลังจากหว่านกล้า ช่วงนี้ให้เริ่มปล่อยน้ำเข้าโดยผสมน้ำจุลินทรีย์เหมือนเดิม
30 วันหลังจากหว่านกล้า ใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดหว่านไร่ละประมาณ 25 กิโลกรัม
ข้อมูลจาก : การผลิตข้าวนาปรังอินทรีย์ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน จ.สิงห์บุรีวารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ 10/2549
ประวัติ ส่วนตัว ข่าว บันเทิง รูป กวนๆ รูปน่ารัก แชท หา เพื่อน และเรื่อง คัน ปาก อยากคุย