แม้เทคโนโลยีด้านโลหะวิทยาจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เครื่องยนต์ในยุคปัจจุบันมีความทนทานมากขึ้น
แต่ก็ไม่ควรละเลยการรัน-อิน อย่างถูกวิธี เพราะมีผลต่ออายุการใช้งานของรถในระยะยาว
รถยนต์ใหม่ทุกคันต้องมีระยะ รัน-อิน หมายถึง การใช้งานในระยะแรกอย่างถูกวิธี
เพื่อให้ทุกชิ้นส่วนมีการปรับสภาพได้อย่างเหมาะสม การใช้งานแบบเต็มกำลังตั้งแต่แรก
ทำให้มีการสึกหรอสูงและรวดเร็วมาก เพราะชิ้นส่วนต่างๆยังไม่เข้าที่
เพียงแต่ในปัจจุบันนี้ได้ลดระยะทางในการรัน-อินจากแต่ก่อนมากแล้ว
อดใจสักนิด อย่าเพิ่งลากรอบ
ระยะทาง 0-1,000 กิโลเมตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้รอบเครื่องยนต์เกิน 2,500-3,000
รอบ/นาที หรือเปลี่ยนความเร็วรอบขึ้น-ลงแบบกระทันหันโดยไม่จำเป็น
การเปลี่ยนจากเกียร์ต่ำขึ้นสู่เกียร์สูง ควรทำอย่างนิ่มนวลที่ระดับ 2,500 รอบ/นาที
แล้วถอนคลัตช์ช้าๆ ส่วนการเปลี่ยนจากเกียร์สูงลงสู่เกียร์ต่ำ เพราะต้องการใช้เกียร์สัมพันธ์กับ
ความเร็ว ไม่ควรเปลี่ยนลงเกียร์ต่ำ เพราะต้องการใช้เกียร์และเครื่องยนต์ช่วยเบรก
ถ้าต้องการเบรกให้เหยียบเบรกตามปกติ ในช่วง 0 - 5,000 กิโลเมตร
ไม่ควรใช้รอบเครื่องยนต์เกิน 4,000 รอบ/นาที
เมื่อถึงระยะ 1,000 กิโลเมตร ให้ถ่ายน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ และน้ำมันเฟืองทิ้งท้าย
เพื่อเอาเศษสกปรกที่หลุดจากชิ้นส่วนต่างๆและปะปนอยู่ในน้ำมันออก
(แม้บางศูนย์บริการจะไม่ระบุไว้ก็ตาม)
รถยนต์ป้ายแดงกับการเดินทางไกล
การเดินทางไกลกับรถยนต์ใหม่สามารถทำได้ แต่ต้องใช้เทคนิคและความระมัดระวังเป็นพิเศษ
โดยเฉพาะรถยนต์ที่ยังไม่พ้นระยะรัน-อิน การเดินทางไกลกับการใช้รอบเครื่องยนต์ในรถยนต์
ใหม่ อาจมีความเข้าใจผิดในหลายกรณี โดยเฉพาะในเรื่องความเร็ว ผู้ใช้ส่วนหนึ่งคิดว่า
ในเมื่อเดินทางไกลมักใช้ความเร็วสูง แล้วจะควบคุมรอบเครื่องยนต์ได้อย่างไร
เพราะถ้าขับเร็วก็น่าจะต้องใช้รอบสูงด้วย แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น
การขับด้วยรอบเครื่องยนต์ระดับปานกลาง ก็สามารถไต่ขึ้นสู่ความเร็วตามกฎหมายกำหนดได้
รถยนต์ส่วนใหญ่ในความเร็วระดับ 90-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในเกียร์สูงสุดไม่ว่าจะเป็น
เกียร์ธรรมดาหรือเกียร์อัตโนมัติมักใช้รอบเครื่องยนต์ประมาณ 2,500-3,000 รอบ/นาที
เท่านั้น ซึ่งไม่สูงเกินไป การเดินทางไกลมีข้อดี คือ สามารถขับได้อย่างนุ่มนวลและควบคุม
รอบเครื่องยนต์ได้ตามต้องการ แต่ไม่ควรขับแช่ที่ความเร็วเดียวกันต่อเนื่องนานๆ
ควรเปลี่ยนแปลงความเร็วบ้าง โดยอาจสลับด้วยกาสรผ่อนความเร็วลงเล็กน้อย
สำหรับกรณีคับขัน เช่น ต้องเร่งแซงหลบหลีก ก็สามารถกดคันเร่งได้เลย
ไม่ต้องเน้นรักษารอบเครื่องยนต์มากเกินไป จนขาดความปลอดภัยหรือถูกชน
อย่าไว้ใจ.....แม้เป็นป้ายแดง
รถยนต์ส่วนใหญ่มักมีการผลิตครั้งละเป็นจำนวนมากๆ แม้มีการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด
ก็ยังอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ดังนั้นเจ้าของรถป้ายแดงจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ
หมั่นตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ต่างๆ ถ้าพบความผิดปกติจะได้เคลมก่อนหมดประกัน
ที่มา GM online