(เท็นชั่น คอร์ด)จะไม่เป็นความลับอีกต่อไป ตอน1
2. เล่นกับวง ใช้หลักการ 11 แทน 1ได้เลย หมายถึง เราจะเอาตัวไหนมาเติม ก็ ตัดตัวที่ 1 ทิ้งไปเลย แล้วเอาตัวที่เราต้องการ ใส่แทนเข้าไปเลย ที่ทำได้อย่างนี้ก็เพราะ ว่า โน้ตตัวแรก มือเบส ยังงัยก็ต้องเล่นอยู่แล้วครับ
ตัวอย่าง Cmjor7 โครงสร้าง 1-3-5-7 คือ C-E-G-B ผมจะเติมตัวที่ 4 (หรือ 11 มันคือโน้ตเดียวกัน) เข้าไป ผมก็ตัดตัวที่1 ทิ้ง ไปเลย แล้วเติมตัว 11 เข้าไป จะได้ 11-3-5-7 คือ F-E-G-B ลองสังเกตดูดีๆ มันจะกลายเป็นคอร์ดใหม่แล้วใช้มั๊ยครับ อันนี้จะถือว่าเป็นหลักการแทนคอร์ด ในดนตรี Jazz อีกแบบนึงครับ จริงๆแล้วมันคือคอร์ด Fsus2 7b5
บทความนี้ผมจำไม่ได้แล้วครับว่าหามาจากไหน
สวัสดีครับวันนี้ผมจะมาแนะนำเรื่อง Tension Chord (เท็นชั่น คอร์ด) ก่อนอื่นผมต้องขอบอกนะครับว่าโดยส่วนตัวแล้วผมเล่นไม่ค่อยเก่ง ไม่ค่อยได้ฝึกภาคปฏิบัติซักเท่าไหร่ แต่พอจะมีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี ดนตรี อยู่บ้างเล็กน้อย ก็เลยอยากจะมาบอกต่อกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ป้าๆ น้าๆ อาๆ บางท่านที่ยังไม่รู้ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์นะครับ
Chord (คอร์ด) คือ เสียงของโน้ต ที่รวมตัวกันตั้งแต่ 3 เสียงขึ้นไป มีทั้งคอร์ด 3 เสียง / 4เสียง / 5เสียง และ อื่นๆ อีกมากมาย
Tension (เท็นชั่น) แปลว่า ความตึงเครียด
Tension Chord (เท็นชั่น คอร์ด) แปลว่าคอร์ดที่มีความตึงเครียด หรือการขยายขอบเขตของเสียงออกไป เขาว่ามาอย่างนั้น...อิอิ
Tension Chord (เท็นชั่น คอร์ด) มีอยู่ในดนตรีทุกประเภท แต่ที่ใช้กันแบบไม่ประหยัดเลย ก็ในดนตรี Jazz นี่ใช้เยอะมาก มีทั้งโน๊ตเท็นชั่น ที่อยู่ในคีย์ และเท็นชั่นที่อยู่นอกคีย์ วันนี้ผมจะพูดถึง โน๊ตเท็นชั่นในคีย์อย่างเดียวก่อนนะครับ
ก่อนจะไปเรื่อง Tension Chord (เท็นชั่น คอร์ด) ผมจะพูดถึงที่มาที่ไปของคอร์ดก่อนละกันครับจะได้ไม่งง!!!!
ขอยกตัวอย่างจาก Scale Cmajor มันจะเข้าใจง่ายที่สุดแล้ว (เราควรจะรู้โน้ตบนคอกีตาร์ให้หมดก่อน หาได้จากกูเกิ้ลครับมีเยอะแยะมากมาย)
Scale Cmajor ประกอบไปด้วยโน้ต C D EF G A BC
C กับ D ห่างกัน 1ช่องบนคอกีตาร์ /D กับ E ห่างกัน 1ช่องบนคอกีตาร์
E กับ F ช่องจะติดกัน บนคอกีตาร์ /F กับ G ห่างกัน 1 ช่องบนคอกีตาร์
G กับ A ห่างกัน 1 ช่อง บนคอกีตาร์ /A กับ B ห่างกัน 1 ช่องบนคอกีตาร์
B กับ C ช่องจะติดกันบนคอกีตาร์ พอจะเข้าใจไหมครับ ลองค่อยทำความเข้าใจไปทีละขั้นตอนนะครับ ไม่เข้าใจตรงไหนอ่านตรงนั้นให้เข้าใจก่อน ถ้าอ่านทีเดียวหมดมันจะเข้าใจยากครับ ค่อยทำความเข้าใจไปทีละขั้นนะครับ
Chord (คอร์ด) คือ เสียงของโน้ต ที่รวมตัวกันตั้งแต่ 3 เสียงขึ้นไป มีทั้งคอร์ด 3 เสียง / 4เสียง / 5เสียง และ อื่นๆ อีกมากมาย
Tension (เท็นชั่น) แปลว่า ความตึงเครียด
Tension Chord (เท็นชั่น คอร์ด) แปลว่าคอร์ดที่มีความตึงเครียด หรือการขยายขอบเขตของเสียงออกไป เขาว่ามาอย่างนั้น...อิอิ
Tension Chord (เท็นชั่น คอร์ด) มีอยู่ในดนตรีทุกประเภท แต่ที่ใช้กันแบบไม่ประหยัดเลย ก็ในดนตรี Jazz นี่ใช้เยอะมาก มีทั้งโน๊ตเท็นชั่น ที่อยู่ในคีย์ และเท็นชั่นที่อยู่นอกคีย์ วันนี้ผมจะพูดถึง โน๊ตเท็นชั่นในคีย์อย่างเดียวก่อนนะครับ
ก่อนจะไปเรื่อง Tension Chord (เท็นชั่น คอร์ด) ผมจะพูดถึงที่มาที่ไปของคอร์ดก่อนละกันครับจะได้ไม่งง!!!!
ขอยกตัวอย่างจาก Scale Cmajor มันจะเข้าใจง่ายที่สุดแล้ว (เราควรจะรู้โน้ตบนคอกีตาร์ให้หมดก่อน หาได้จากกูเกิ้ลครับมีเยอะแยะมากมาย)
Scale Cmajor ประกอบไปด้วยโน้ต C D EF G A BC
C กับ D ห่างกัน 1ช่องบนคอกีตาร์ /D กับ E ห่างกัน 1ช่องบนคอกีตาร์
E กับ F ช่องจะติดกัน บนคอกีตาร์ /F กับ G ห่างกัน 1 ช่องบนคอกีตาร์
G กับ A ห่างกัน 1 ช่อง บนคอกีตาร์ /A กับ B ห่างกัน 1 ช่องบนคอกีตาร์
B กับ C ช่องจะติดกันบนคอกีตาร์ พอจะเข้าใจไหมครับ ลองค่อยทำความเข้าใจไปทีละขั้นตอนนะครับ ไม่เข้าใจตรงไหนอ่านตรงนั้นให้เข้าใจก่อน ถ้าอ่านทีเดียวหมดมันจะเข้าใจยากครับ ค่อยทำความเข้าใจไปทีละขั้นนะครับ
****อันนี้สำคัญมาก ว่าโน้ตตัวไหน เป็นลำดับที่เท่าไหร่ ของสเกลไหน มันจะส่งผลกับหลายๆอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นโน๊ตเท็นชั่นที่ผมกำลังจะกล่าวถึง หรือเรื่องของโมด เรื่องอาร์เพ็กจิโอ้ และเรื่องอื่นๆอีกมากมาย มันจะอ้างอิงมาที่ตรงนี้หมดละครับ ตอนนี้ขอแค่ให้จำตรงนี้ให้ขึ้นใจก่อน เอาแค่ว่าโน้ตตัวไหน เป็นลำดับที่เท่าไหร่ ของสเกล C
C เป็นโน้ตตัวที่ 1 ของ Cmajor Scale
D เป็นโน้ตตัวที่ 2 ของ Cmajor Scale
E เป็นโน้ตตัวที่ 3 ของ Cmajor Scale
F เป็นโน้ตตัวที่ 4 ของ Cmajor Scale
G เป็นโน้ตตัวที่ 5 ของ Cmajor Scale
A เป็นโน้ตตัวที่ 6 ของ Cmajor Scale
B เป็นโน้ตตัวที่ 7 ของ Cmajor Scale
C เป็นโน้ตตัวที่ 8 หรือตัวที่1 นั่นเองของ Cmajor Scale (วนกลับมาเป็น Octave (อ็อคเท็ฟ) ต่อไป)
*****ข้อสังเกตุ BC ติดกัน / EF ก็ติดกัน ******
Octave (อ็อคเท็ฟ) คือ โน้ตเดียวกัน แต่เสียงสูงต่ำไม่เท่ากัน
ตัวอย่าง
จาก Note E สายเปล่าที่สาย 6 ข้ามไปถึง Note E ที่สาย6 ช่อง12 นี่คือ 1 Octave
จาก Note E สายเปล่าที่สาย 6 ข้ามไปถึง Note E ที่สาย2 ช่อง5 นี่คือ 2 Octave
จาก Note E สายเปล่าที่สาย 6 ข้ามไปถึง Note E ที่สาย1 ช่อง12 นี่คือ 3 Octave
C เป็นโน้ตตัวที่ 1 ของ Cmajor Scale
D เป็นโน้ตตัวที่ 2 ของ Cmajor Scale
E เป็นโน้ตตัวที่ 3 ของ Cmajor Scale
F เป็นโน้ตตัวที่ 4 ของ Cmajor Scale
G เป็นโน้ตตัวที่ 5 ของ Cmajor Scale
A เป็นโน้ตตัวที่ 6 ของ Cmajor Scale
B เป็นโน้ตตัวที่ 7 ของ Cmajor Scale
C เป็นโน้ตตัวที่ 8 หรือตัวที่1 นั่นเองของ Cmajor Scale (วนกลับมาเป็น Octave (อ็อคเท็ฟ) ต่อไป)
*****ข้อสังเกตุ BC ติดกัน / EF ก็ติดกัน ******
Octave (อ็อคเท็ฟ) คือ โน้ตเดียวกัน แต่เสียงสูงต่ำไม่เท่ากัน
ตัวอย่าง
จาก Note E สายเปล่าที่สาย 6 ข้ามไปถึง Note E ที่สาย6 ช่อง12 นี่คือ 1 Octave
จาก Note E สายเปล่าที่สาย 6 ข้ามไปถึง Note E ที่สาย2 ช่อง5 นี่คือ 2 Octave
จาก Note E สายเปล่าที่สาย 6 ข้ามไปถึง Note E ที่สาย1 ช่อง12 นี่คือ 3 Octave
คอร์ด 3 เสียง (Triad Chord) คือนำโน้ตในสเกล ตัว เว้น ตัว ก็จะได้ดังนี้
คอร์ด 3 เสียงทั้งหมดใน สเกล C Major จะได้ดังนี้
เริ่มจาก C เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ C-E-G คือ คอร์ด C
นับ D เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ D-F-A คือ คอร์ด Dm
นับ E เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ E-G-B คือ คอร์ด Em
นับ F เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ F-A-C คือ คอร์ด F
นับ G เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ G-B-D คือ คอร์ด G
นับ A เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ A-C-E คือ คอร์ด Am
นับ B เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ B-D-F คือ คอร์ด Bdim
ก็เป็นอันว่าครบทั้ง 7 คอร์ดของคอร์ 3 เสียงแล้ว (สเกลมี 7 โน้ต ฉันใดฉันนั้น จึงมีคอร์ดแค่ 7 คอร์ด นะโยม)
คอร์ด 3 เสียงทั้งหมดใน สเกล C Major จะได้ดังนี้
เริ่มจาก C เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ C-E-G คือ คอร์ด C
นับ D เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ D-F-A คือ คอร์ด Dm
นับ E เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ E-G-B คือ คอร์ด Em
นับ F เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ F-A-C คือ คอร์ด F
นับ G เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ G-B-D คือ คอร์ด G
นับ A เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ A-C-E คือ คอร์ด Am
นับ B เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ B-D-F คือ คอร์ด Bdim
ก็เป็นอันว่าครบทั้ง 7 คอร์ดของคอร์ 3 เสียงแล้ว (สเกลมี 7 โน้ต ฉันใดฉันนั้น จึงมีคอร์ดแค่ 7 คอร์ด นะโยม)
ต่อไปเรามาดูคอร์ด 4 เสียงกันบ้าง ก็ใช้ตัวเว้นตัวเหมือนกัน
เริ่มจาก C เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5-7 คือ C-E-G-B คือ คอร์ด Cmjor7
นับ D เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5-7 คือ D-F-A-C คือ คอร์ด Dm7
นับ E เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5-7 คือ E-G-B-D คือ คอร์ด Em7
นับ F เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5-7 คือ F-A-C-E คือ คอร์ด Fmajor7
นับ G เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ G-B-D-F คือ คอร์ด G7 (G dominant7)
นับ A เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ A-C-E-G คือ คอร์ด Am7
นับ B เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ B-D-F-A คือ คอร์ด Bm7b5 (บีไมเนอร์เซเว่นแฟลตไฟว์)
ก็เป็นอันว่าครบทั้ง 7 คอร์ดของคอร์ด 4 เสียงแล้ว (สเกลมี 7 โน้ต ฉันใดฉันนั้น จึงมีคอร์ดแค่ 7 คอร์ด นะโยม)
***จำให้ได้นะครับว่า คีย์ซี มีแค่ 7 คอร์ด นี้เท่านั้น ถ้ามีคอร์ดอื่นถือว่าเป็นคอร์ดที่นอกคีย์ครับ เช่นเราเล่น C/Am/Dm/G7
/C/Am/F/Fm/C อย่างนี้ Fm เป็นคอร์ดนอกคีย์ เพราะFm จริงๆแล้วเป็นคอร์ดที่2 ของEb Major Scale ลองเปลี่ยนหลายคีย์นะครับเราจะได้รู้ว่าคีย์ไหนมันมีคอร์ดอะไรบ้าง เราจะได้วิเคราะห์ เพลงได้ ว่าช่วงนี้มันใช้คีย์อะไร ใช้สเกลอะไรโซโล่
เริ่มจาก C เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5-7 คือ C-E-G-B คือ คอร์ด Cmjor7
นับ D เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5-7 คือ D-F-A-C คือ คอร์ด Dm7
นับ E เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5-7 คือ E-G-B-D คือ คอร์ด Em7
นับ F เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5-7 คือ F-A-C-E คือ คอร์ด Fmajor7
นับ G เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ G-B-D-F คือ คอร์ด G7 (G dominant7)
นับ A เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ A-C-E-G คือ คอร์ด Am7
นับ B เป็นตัวที่1 นับตัวเว้นตัว ก็จะได้ดังนี้ 1-3-5 คือ B-D-F-A คือ คอร์ด Bm7b5 (บีไมเนอร์เซเว่นแฟลตไฟว์)
ก็เป็นอันว่าครบทั้ง 7 คอร์ดของคอร์ด 4 เสียงแล้ว (สเกลมี 7 โน้ต ฉันใดฉันนั้น จึงมีคอร์ดแค่ 7 คอร์ด นะโยม)
***จำให้ได้นะครับว่า คีย์ซี มีแค่ 7 คอร์ด นี้เท่านั้น ถ้ามีคอร์ดอื่นถือว่าเป็นคอร์ดที่นอกคีย์ครับ เช่นเราเล่น C/Am/Dm/G7
/C/Am/F/Fm/C อย่างนี้ Fm เป็นคอร์ดนอกคีย์ เพราะFm จริงๆแล้วเป็นคอร์ดที่2 ของEb Major Scale ลองเปลี่ยนหลายคีย์นะครับเราจะได้รู้ว่าคีย์ไหนมันมีคอร์ดอะไรบ้าง เราจะได้วิเคราะห์ เพลงได้ ว่าช่วงนี้มันใช้คีย์อะไร ใช้สเกลอะไรโซโล่
ต่อไปก็มาถึงพระเอกของเราซะที Tension Chord (เท็นชั่น คอร์ด)
หลักการเติมโน๊ตเท็นชั่น ให้คอร์ดมีดังนี้
คอร์ด Add (แอ๊ด) (ไม่ใช่แอ๊ดคาราบาวนะครับ) ใช้คอร์ด 3 เสียง แล้วเพิ่มโน้ตที่เราต้องการเข้าไปเลย แต่ต้องเป็นโน้ตในสเกลนะครับ
ตัวอย่างเช่น Cadd9 (ซีแอดนาย) คอร์ดซี 1-3-5 C-E-G เพิ่มตัวที่9 เข้าไปเป็น 1-3-5-9 C-E-G-D
Dm add9 (ดีไมเนอร์แอ๊ดนาย) คอร์ด Dm 1-3-5 D-F-A เพิ่มตัวที่9 เข้าไปเป็น 1-3-5-9 D-F-A-E
หลักการเติมโน๊ตเท็นชั่น ให้คอร์ดมีดังนี้
คอร์ด Add (แอ๊ด) (ไม่ใช่แอ๊ดคาราบาวนะครับ) ใช้คอร์ด 3 เสียง แล้วเพิ่มโน้ตที่เราต้องการเข้าไปเลย แต่ต้องเป็นโน้ตในสเกลนะครับ
ตัวอย่างเช่น Cadd9 (ซีแอดนาย) คอร์ดซี 1-3-5 C-E-G เพิ่มตัวที่9 เข้าไปเป็น 1-3-5-9 C-E-G-D
Dm add9 (ดีไมเนอร์แอ๊ดนาย) คอร์ด Dm 1-3-5 D-F-A เพิ่มตัวที่9 เข้าไปเป็น 1-3-5-9 D-F-A-E
คอร์ด Sus (ซัส) ใช้คอร์ด 3 เสียง แล้วตัดตัวที่ 3 ออก แล้วใส่โน๊ตเท็นชั่นที่เราต้องการเพิ่มเข้าไปแทนโน๊ตที่เราตัดออกได้เลย คอร์ดลักษณะนี้จะไม่บ่งบอกความเป็น ไมเนอร์ หรือเมเจอร์ (ผมเรียกคอร์ดนี้ว่าคอร์ดไม่ระบุสัญชาติ อิอิ..) โน้ตตัว 3 นั้นเป็นตัวบ่งบอก ความเป็น ไมเนอร์ หรือเมเจอร์ ลองดู คอร์ด Am 1-3-5 คือ A-C-E คอร์ด Amjor 1-3-5 คือ A-C#-E เห็นมั๊ยครับ ตัวที่3 ต่างกันแค่ครึ่งเสียง แต่อารมณ์ของคอร์ดก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง มาเข้าเรื่องคอร์ด Sus กันต่อ
ตัวอย่างเช่น Csus9 (ซีซัสนาย ดีนะซัสนายไม่ได้ซัซเรา อิอิ...) คอร์ดซี 1-3-5
C-E-G ตัดตัวที่3 ออก แล้วใส่ตัวที่9 เข้าไปแทนเป็นก็จะได้ 1-9-5 C-D-G
C-E-G ตัดตัวที่3 ออก แล้วใส่ตัวที่9 เข้าไปแทนเป็นก็จะได้ 1-9-5 C-D-G
การทำคอร์ด 5 เสียงนั้น เป็นไปได้ยากบนกีตาร์ แต่สำหรับเปียนโนแล้วสบายมาก ดังนั้นการจะทำคอร์ด 5 เสียงบนกีตาร์นั้น
เราจำเป็นต้องตัดโน้ตบางตัวออก โดยใช้กลักการดังนี้
1.เล่นคนเดียว ให้ตัดเอาตัว ที่ 5 ออก ได้เลย เพราะตัวที่ 5 มีความสำคัญน้อยที่สุด
ตัวอย่าง Cmajor7 โครงสร้าง 1-3-5-7 1 คือรูท หรือโน้ตตัวแรกของสเกลนั้น 3 คือ ตัวบ่งบอกความเป็นเมเจอร์ หรือ
ไมเนอร์ 5 คือตัวที่ทำให้คอร์ดฟังดูหนักแน่นขึ้น 7 เป็นตัวบ่งบอกความเป็นเมเจอร์ เซเว่น หรือ ดอมิแนนท์เซเว่น
จาก Cmjor7 โครงสร้าง 1-3-5-7 คือ C-E-G-B ผมจะเติมตัวที่ 4 (หรือ 11 มันคือโน้ตเดียวกัน) เข้าไป ผมก็ตัดตัวที่5 ทิ้ง
แล้วใส่ ตัว 11 เข้าไปจะได้ดังนี้ 1-3-11-7 C-E- F-B ก็จะได้คอร์ด Cmajor7 /11 (คอร์ดซีเมเจอร์เซเว่นอิเลฟเวน) ชื่อเหมือนร้านสะดวกซื้อใช้ไหมครับ
เราจำเป็นต้องตัดโน้ตบางตัวออก โดยใช้กลักการดังนี้
1.เล่นคนเดียว ให้ตัดเอาตัว ที่ 5 ออก ได้เลย เพราะตัวที่ 5 มีความสำคัญน้อยที่สุด
ตัวอย่าง Cmajor7 โครงสร้าง 1-3-5-7 1 คือรูท หรือโน้ตตัวแรกของสเกลนั้น 3 คือ ตัวบ่งบอกความเป็นเมเจอร์ หรือ
ไมเนอร์ 5 คือตัวที่ทำให้คอร์ดฟังดูหนักแน่นขึ้น 7 เป็นตัวบ่งบอกความเป็นเมเจอร์ เซเว่น หรือ ดอมิแนนท์เซเว่น
จาก Cmjor7 โครงสร้าง 1-3-5-7 คือ C-E-G-B ผมจะเติมตัวที่ 4 (หรือ 11 มันคือโน้ตเดียวกัน) เข้าไป ผมก็ตัดตัวที่5 ทิ้ง
แล้วใส่ ตัว 11 เข้าไปจะได้ดังนี้ 1-3-11-7 C-E- F-B ก็จะได้คอร์ด Cmajor7 /11 (คอร์ดซีเมเจอร์เซเว่นอิเลฟเวน) ชื่อเหมือนร้านสะดวกซื้อใช้ไหมครับ
ตัวอย่าง Cmjor7 โครงสร้าง 1-3-5-7 คือ C-E-G-B ผมจะเติมตัวที่ 4 (หรือ 11 มันคือโน้ตเดียวกัน) เข้าไป ผมก็ตัดตัวที่1 ทิ้ง ไปเลย แล้วเติมตัว 11 เข้าไป จะได้ 11-3-5-7 คือ F-E-G-B ลองสังเกตดูดีๆ มันจะกลายเป็นคอร์ดใหม่แล้วใช้มั๊ยครับ อันนี้จะถือว่าเป็นหลักการแทนคอร์ด ในดนตรี Jazz อีกแบบนึงครับ จริงๆแล้วมันคือคอร์ด Fsus2 7b5
บทความนี้ผมจำไม่ได้แล้วครับว่าหามาจากไหน