OVER DRIVE มีประโยชน์อย่างไร แล้วจะใช้ตอนไหนถึงจะดี
ความหมายจริง ๆ ของคำว่า “Overdrive Ratio” คือ
"อัตราทดเฟืองเกียร์ที่ทำให้เพลากลางหมุนได้เร็วกว่าเพลาขับตัวเมนของเกียร์”
จึงช่วยให้ใช้รองเครื่องต่ำลงและรถวิ่งเร็วขึ้น ซึ่งตามความหมายนี้ก็พอจะถือได้ว่า
พวกเฟืองเกียร์ที่มีอัตราทดต่ำกว่า 1 นั้นเป็นเกียร์ Overdrive
ส่วนผลงานของมันจะเป็นอย่างไร ได้ผลมากน้อยขนาดไหน ก็จะต้องขึ้นอยู่กับกำลังเครื่อง
อัตราทดเฟืองท้ายเส้นรอบวงยาง น้ำหนักและรูปทรงของรถประกอบกัน
จุดประสงค์หลักของการใช้งานเกียร์โอเวอร์ไดรว์ คือ ช่วยลดรอบเครื่องยนต์ให้ทำงานน้อยลงกว่าเกียร์อัตราทดปกติ
เมื่อขับเคลื่อนด้วยความเร็วที่เท่ากัน เพื่อเป็นการลดความสึกหรอและมีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยลงอย่างเช่น
ในเกียร์ 4 ที่มีอัตราทดเกียร์ 1.000 เมื่อวิ่งด้วยความเร็ว 100 กม./ชม. จะใช้รอบเครื่อง
3,400 รอบต่อนาที แต่พอใช้เกียร์ 5 ที่มีอัตราทดเพียง 0.850
ที่ความเร็ว 100 กม./ชม.เท่ากัน ก็อาจจะใช้รอบเครื่องรถยนต์เพียงแค่ 2,800 รอบต่อนาที
ย่อมมีการสึกหรอและสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยกว่าเครื่องยนต์ที่ทำงาน 3,400 รอบต่อนาทีแต่นั้นหมายถึงว่า
เราจะต้องวิ่งด้วยความเร็วคงที่เพราะถ้ามีการเร่งแซงและเปลี่ยนแปลงความเร็วบ่อย ๆ ก็ไม่แน่เหมือนกันว่า
เกียร์ 5 หรือ เกียร์โอเวอร์ไดรว์นี้จะสร้างความประหยัดให้เสมอไป เนื่องจากเกียร์ 5 จะมีอัตราเร่งน้อยกว่า
เกียร์ 4 ดังนั้นเมื่อมีการ การเร่งแซงคนขับจึงต้องกดคันเร่งลึกกว่าและนานกว่า
เพื่อเรียกแรงม้าแรงบิดออกมาใช้งาน เหมือนกับตอนออกรถซึ่งถ้าออกด้วยเกียร์ 1 กดคันเร่งเบา ๆ
ก็ออกตัวไปได้แล้ว แต่ถ้าเปลี่ยนมาออกตัวด้วยเกียร์ 3 ก็จะต้องกดคันเร่งลึกกว่าเดิม
เกียร์ 3 ซึ่งมีอัตราทดต่ำกว่าเกียร์ 1 ในความเร็วเท่ากันก็ใช้รอบเครื่องน้อยกว่า แต่การออกรถด้วยเกียร์ 3
มันไม่ได้ลดการสึกหรอและให้ความประหยัด เหมือนกับการออกรถด้วยเกียร์ 1 เลย
ด้วยเหตุนี้หากคิดจะใช้เกียร์ Over drive ให้ได้ประโยชน์จริง ๆ ก็จะต้องใช้ให้เป็นและใช้ให้ถูกวิธีด้วย
ใช้ให้ถูกวิธี
ในการใช้เกียร์ Overdrive ให้ได้ผลเต็มที่นั้น ประการแรกคือต้องใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และ
สภาพการจราจร อย่างเช่น การขับขี่ในเมืองที่ใช้ความเร็วต่ำ มีการเร่งและหยุดบ่อย ๆ แบบนี้ไม่ควรเร็วต่ำ
มีการเร่งและหยุดบ่อย ๆ แบบนี้ไม่ควรใช้ ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติที่มีปุ่มเปิด-ปิด ให้ใช้จังหวะ OD off
จนกระทั่งเจอทางโล่ง สามารถใช้ความเร็วได้เกินกว่า 60-80 กม./ชม.(ขึ้นอยู่กับกำลังเครื่องยนต์)
จึงค่อยกดสวิทซ์ OD on เพื่อให้เกียร์เปลี่ยนเป็น Overdrive
พวกรถเกียร์อัตโนมัติที่มีเกียร์ Overdrive จะพยายามอยู่ในตำแหน่งเกียร์สูงสุดเท่าที่จะสามารถ
รถบางรุ่นนั้นขนาดคลานด้วยความเร็ว 40 กม./ชม.ยังไม่ยอมเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำเลยก็มี
แบบนี้นอกจากทำให้แรงบิดเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น แทนที่จะเกิดความประหยัดตามความมุ่งหมาย
หรือพวกรถเกียร์ธรรมดา เมื่อใช้เกียร์ Overdrive ในการขับขี่ที่ความเร็วต่ำมาก ๆ
จะไม่มีผลเฉพาะอัตราเร่งกับอัตราสิ้นเปลืองเท่านั้น
ยังทำให้ชุดขับเคลื่อนและระบบส่งกำลังตลอดจนเครื่องยนต์เกิดชำรุดเสียหายได้อีกด้วย
ใช้ในการแซง
เมื่อขับอยู่ในช่วงความเร็วประมาณ 60-100 กม./ชม.
โดยขับเคลื่อนอยู่ในจังหวะเกียร์ Overdrive และมีความต้องการแซงรถคันข้างหน้าแบบไม่รีบร้อน
เร่งด้วยอะไรมากนัก ควรกดสวิทช์เป็น OD off เพื่อเปลี่ยนเกียร์ลงมาเป็นเกียร์ต่ำก่อน
แล้วกดคันเร่ง (เบา ๆ ) เพิ่มกำลังเครื่องแซงขึ้นไป พอพ้นหรือหมดความจำเป็นแล้วจึงค่อยกดสวิทช์เปลี่ยน
กลับมาเป็น OD on ตามเดิม วิธีนี้จะรวดเร็วและประหยัดกว่าการเร่งแซงทั้ง ๆ ที่ยังอยู่ในเกียร์
Overdrive ซึ่งจะอืดอาดใช้เวลาในการแซงนานกว่า วิธีนี้จะทำให้การแซง “นิ่มนวล” กว่าการ
กดคันเร่งลึกให้เกียร์ Kick Down เปลี่ยนกลับเป็นเกียร์ต่ำ เพราะการคิกดาวน์นั้นเครื่องยนต์จะมีรอบสูง
อัตราเร่งรุนแรงกระชากกระชั้นเกินความจำเป็น ซึ่งจะนำไปสู่การสึกหรอและสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงโดยเปล่าประโยชน์
โอเวอร์ไดรว์ในที่คับขัน
พวกเกียร์ Overdrive มีอัตราทดเกียร์ต่ำ ทำให้เครื่องยนต์ไม่มีเอนจิ้นเบรค
ดังนั้นในการเบรกจะใช้ระยะเบรกยาวกว่าปกติ ด้วยเหตุนี้เพื่อความปลอดภัยและช่วยให้ใช้ระยะในการเบรกสั้นลง
เวลาที่ขับรถในจุดคับขัน เช่น ขับลงทางลาด ลงสะพาน หรืออยู่ในจุดบอดไม่เห็นทางข้างหน้า
ควรจะเปลี่ยนกลับมาใช้เกียร์ต่ำ โดยกดสวิทซ์เป็นตำแหน่ง OD off อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
อาจเพิ่มขึ้นอีกครั้งละสิบยี่สิบตังค์ แต่ขอให้นึกเทียบกับค่าซ่อมรถเนื่องจากไปสะกิดบั้นท้ายคันอื่น
แล้วจะรู้สึกกว่าคุ้มกว่ากันเยอะ โดยเฉพาะรถที่ใช้ระบบเบรค ABS ซึ่งปกติระยะเบรกก็จะยาวกว่า
รถที่ไม่มี ABS อยู่แล้ว มาผสมโรงกับจังหวะเกียร์โอเวอร์ไดรว์อีกก็จะไปกันใหญ่ เบรคกันไม่ค่อยทัน
ในบางครั้งเราจึงควรกดสวิทช์เป็น OD off ให้ลดลงมาเป็นเกียร์ต่ำ
เพื่อใช้ “เอนจิ้นเบรค” มาช่วยลดความเร็วของรถด้วยอีกทางหนึ่ง
ทำนองเดียวกันเวลาขับรถเขาโค้งด้วยความเร็ว ถ้าเรากดสวิทช์เป็น OD off ลดเกียร์ลง
จะเกิดเอนจิ้นเบรคช่วยให้การทรงตัวของรถดีขึ้น สร้างความมั่นใจได้มากกว่า อีกทั้งสามารถเร่งเครื่องพาตัวรถ
ออกจากโค้งได้รวดเร็วกว่าอีกด้วย การลดเกียร์ลงมาจะให้ความปลอดภัยได้เหนือกว่า
หรือหากไปเจอเหตุกะทันหันกลางโค้งก็จะสามารถเบรกชะลอรถและเร่งส่งบังคับควบคุมรถได้ง่ายขึ้น
จากหนังสือยานยนต์ เล่มที่ 388
"อัตราทดเฟืองเกียร์ที่ทำให้เพลากลางหมุนได้เร็วกว่าเพลาขับตัวเมนของเกียร์”
จึงช่วยให้ใช้รองเครื่องต่ำลงและรถวิ่งเร็วขึ้น ซึ่งตามความหมายนี้ก็พอจะถือได้ว่า
พวกเฟืองเกียร์ที่มีอัตราทดต่ำกว่า 1 นั้นเป็นเกียร์ Overdrive
ส่วนผลงานของมันจะเป็นอย่างไร ได้ผลมากน้อยขนาดไหน ก็จะต้องขึ้นอยู่กับกำลังเครื่อง
อัตราทดเฟืองท้ายเส้นรอบวงยาง น้ำหนักและรูปทรงของรถประกอบกัน
จุดประสงค์หลักของการใช้งานเกียร์โอเวอร์ไดรว์ คือ ช่วยลดรอบเครื่องยนต์ให้ทำงานน้อยลงกว่าเกียร์อัตราทดปกติ
เมื่อขับเคลื่อนด้วยความเร็วที่เท่ากัน เพื่อเป็นการลดความสึกหรอและมีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยลงอย่างเช่น
ในเกียร์ 4 ที่มีอัตราทดเกียร์ 1.000 เมื่อวิ่งด้วยความเร็ว 100 กม./ชม. จะใช้รอบเครื่อง
3,400 รอบต่อนาที แต่พอใช้เกียร์ 5 ที่มีอัตราทดเพียง 0.850
ที่ความเร็ว 100 กม./ชม.เท่ากัน ก็อาจจะใช้รอบเครื่องรถยนต์เพียงแค่ 2,800 รอบต่อนาที
ย่อมมีการสึกหรอและสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยกว่าเครื่องยนต์ที่ทำงาน 3,400 รอบต่อนาทีแต่นั้นหมายถึงว่า
เราจะต้องวิ่งด้วยความเร็วคงที่เพราะถ้ามีการเร่งแซงและเปลี่ยนแปลงความเร็วบ่อย ๆ ก็ไม่แน่เหมือนกันว่า
เกียร์ 5 หรือ เกียร์โอเวอร์ไดรว์นี้จะสร้างความประหยัดให้เสมอไป เนื่องจากเกียร์ 5 จะมีอัตราเร่งน้อยกว่า
เกียร์ 4 ดังนั้นเมื่อมีการ การเร่งแซงคนขับจึงต้องกดคันเร่งลึกกว่าและนานกว่า
เพื่อเรียกแรงม้าแรงบิดออกมาใช้งาน เหมือนกับตอนออกรถซึ่งถ้าออกด้วยเกียร์ 1 กดคันเร่งเบา ๆ
ก็ออกตัวไปได้แล้ว แต่ถ้าเปลี่ยนมาออกตัวด้วยเกียร์ 3 ก็จะต้องกดคันเร่งลึกกว่าเดิม
เกียร์ 3 ซึ่งมีอัตราทดต่ำกว่าเกียร์ 1 ในความเร็วเท่ากันก็ใช้รอบเครื่องน้อยกว่า แต่การออกรถด้วยเกียร์ 3
มันไม่ได้ลดการสึกหรอและให้ความประหยัด เหมือนกับการออกรถด้วยเกียร์ 1 เลย
ด้วยเหตุนี้หากคิดจะใช้เกียร์ Over drive ให้ได้ประโยชน์จริง ๆ ก็จะต้องใช้ให้เป็นและใช้ให้ถูกวิธีด้วย
ใช้ให้ถูกวิธี
ในการใช้เกียร์ Overdrive ให้ได้ผลเต็มที่นั้น ประการแรกคือต้องใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และ
สภาพการจราจร อย่างเช่น การขับขี่ในเมืองที่ใช้ความเร็วต่ำ มีการเร่งและหยุดบ่อย ๆ แบบนี้ไม่ควรเร็วต่ำ
มีการเร่งและหยุดบ่อย ๆ แบบนี้ไม่ควรใช้ ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติที่มีปุ่มเปิด-ปิด ให้ใช้จังหวะ OD off
จนกระทั่งเจอทางโล่ง สามารถใช้ความเร็วได้เกินกว่า 60-80 กม./ชม.(ขึ้นอยู่กับกำลังเครื่องยนต์)
จึงค่อยกดสวิทซ์ OD on เพื่อให้เกียร์เปลี่ยนเป็น Overdrive
พวกรถเกียร์อัตโนมัติที่มีเกียร์ Overdrive จะพยายามอยู่ในตำแหน่งเกียร์สูงสุดเท่าที่จะสามารถ
รถบางรุ่นนั้นขนาดคลานด้วยความเร็ว 40 กม./ชม.ยังไม่ยอมเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำเลยก็มี
แบบนี้นอกจากทำให้แรงบิดเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น แทนที่จะเกิดความประหยัดตามความมุ่งหมาย
หรือพวกรถเกียร์ธรรมดา เมื่อใช้เกียร์ Overdrive ในการขับขี่ที่ความเร็วต่ำมาก ๆ
จะไม่มีผลเฉพาะอัตราเร่งกับอัตราสิ้นเปลืองเท่านั้น
ยังทำให้ชุดขับเคลื่อนและระบบส่งกำลังตลอดจนเครื่องยนต์เกิดชำรุดเสียหายได้อีกด้วย
ใช้ในการแซง
เมื่อขับอยู่ในช่วงความเร็วประมาณ 60-100 กม./ชม.
โดยขับเคลื่อนอยู่ในจังหวะเกียร์ Overdrive และมีความต้องการแซงรถคันข้างหน้าแบบไม่รีบร้อน
เร่งด้วยอะไรมากนัก ควรกดสวิทช์เป็น OD off เพื่อเปลี่ยนเกียร์ลงมาเป็นเกียร์ต่ำก่อน
แล้วกดคันเร่ง (เบา ๆ ) เพิ่มกำลังเครื่องแซงขึ้นไป พอพ้นหรือหมดความจำเป็นแล้วจึงค่อยกดสวิทช์เปลี่ยน
กลับมาเป็น OD on ตามเดิม วิธีนี้จะรวดเร็วและประหยัดกว่าการเร่งแซงทั้ง ๆ ที่ยังอยู่ในเกียร์
Overdrive ซึ่งจะอืดอาดใช้เวลาในการแซงนานกว่า วิธีนี้จะทำให้การแซง “นิ่มนวล” กว่าการ
กดคันเร่งลึกให้เกียร์ Kick Down เปลี่ยนกลับเป็นเกียร์ต่ำ เพราะการคิกดาวน์นั้นเครื่องยนต์จะมีรอบสูง
อัตราเร่งรุนแรงกระชากกระชั้นเกินความจำเป็น ซึ่งจะนำไปสู่การสึกหรอและสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงโดยเปล่าประโยชน์
โอเวอร์ไดรว์ในที่คับขัน
พวกเกียร์ Overdrive มีอัตราทดเกียร์ต่ำ ทำให้เครื่องยนต์ไม่มีเอนจิ้นเบรค
ดังนั้นในการเบรกจะใช้ระยะเบรกยาวกว่าปกติ ด้วยเหตุนี้เพื่อความปลอดภัยและช่วยให้ใช้ระยะในการเบรกสั้นลง
เวลาที่ขับรถในจุดคับขัน เช่น ขับลงทางลาด ลงสะพาน หรืออยู่ในจุดบอดไม่เห็นทางข้างหน้า
ควรจะเปลี่ยนกลับมาใช้เกียร์ต่ำ โดยกดสวิทซ์เป็นตำแหน่ง OD off อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
อาจเพิ่มขึ้นอีกครั้งละสิบยี่สิบตังค์ แต่ขอให้นึกเทียบกับค่าซ่อมรถเนื่องจากไปสะกิดบั้นท้ายคันอื่น
แล้วจะรู้สึกกว่าคุ้มกว่ากันเยอะ โดยเฉพาะรถที่ใช้ระบบเบรค ABS ซึ่งปกติระยะเบรกก็จะยาวกว่า
รถที่ไม่มี ABS อยู่แล้ว มาผสมโรงกับจังหวะเกียร์โอเวอร์ไดรว์อีกก็จะไปกันใหญ่ เบรคกันไม่ค่อยทัน
ในบางครั้งเราจึงควรกดสวิทช์เป็น OD off ให้ลดลงมาเป็นเกียร์ต่ำ
เพื่อใช้ “เอนจิ้นเบรค” มาช่วยลดความเร็วของรถด้วยอีกทางหนึ่ง
ทำนองเดียวกันเวลาขับรถเขาโค้งด้วยความเร็ว ถ้าเรากดสวิทช์เป็น OD off ลดเกียร์ลง
จะเกิดเอนจิ้นเบรคช่วยให้การทรงตัวของรถดีขึ้น สร้างความมั่นใจได้มากกว่า อีกทั้งสามารถเร่งเครื่องพาตัวรถ
ออกจากโค้งได้รวดเร็วกว่าอีกด้วย การลดเกียร์ลงมาจะให้ความปลอดภัยได้เหนือกว่า
หรือหากไปเจอเหตุกะทันหันกลางโค้งก็จะสามารถเบรกชะลอรถและเร่งส่งบังคับควบคุมรถได้ง่ายขึ้น
จากหนังสือยานยนต์ เล่มที่ 388