บนถนนสายเอเชีย ประมาณตี 1 - ตี 3 คืนวันที่ 15 เข้าเช้ามืด 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นรถคันที่ผมอยู่ในเหตุการณ์ด้วย
เป็นประสบการณ์ตรงล่าสุดที่อยากจะมาถ่ายทอดเป็นเชิงวิชาการแบบง่ายๆ ครับ
ขากลับจากพะเยา ( ผมไปงานศพคุณแม่ของวิศวกรที่บริษัทครับ ) ผมโชคดีได้
พี่คนหนึ่งที่สนิทกันช่วยขับรถกลับให้
เพราะต้องกลับกรุงเทพเหมือนกัน
ผมนั่งคุยกับแกมาตลอดทาง จนฝนตกหนัก
แกถามว่าในรถมีแว่นกันแดดไหมจึงหยิบให้เขา
เขาให้ผมลองใส่ดูปรากฏว่าเห็นทางชัดเจนมาก ทัศนะวิสัยดีมาก
ถึงจะไม่เทียบเท่ากับตอนฝนไม่ตก แต่ก็เกือบ 90% แล้วผมก็รีบเอาแว่นให้พี่เขาความรู้โดยบังเอิญตรงนี้พี่เขาก็เล่าสถานการณ์ให้ฟัง
ผมก็ฟังไปด้วย คิดถึงเหตุผล ไปด้วยจนค่อนข้างแน่ใจว่า
โดย คุณสมบัติของแว่นกันแดดแล้วจะทำหน้าที่กรองที่เกินความจำเป็นในการมองเห็น และทำอันตรายของดวงตาออกไปยิ่งมีคุณสมบัติดียิ่งมีการเคลือบหรือเทคนิคในการ ผลิตดีตามและราคาสูง ดังนั้นถ้าเป็นเรื่องนี้ไม่ควรประหยัด
เมื่อเม็ดฝนที่ตกหนักตามแรงโน้มถ่วงของโลก จากที่สูงขนาดของเม็ดฝนซึ่งมีขนาด
ต่างๆ ตกกระทบฝากระโปรงหน้าด้วยแรงกระแทกมหาศาลทำให้เม็ดฝนแตกกระจายอย่างละเอียดรวมทั้งบนหน้ากระจกรถของเราด้วย
ในตอนกลางคืนหรือกลางวันก็ตาม
จะมีแสงจากธรรมชาติอยู่แล้ว หรืออาจจะมาจากที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็น
แสงสว่างต่างๆเม็ดฝนมีการสะท้อนแสง
หรือบางขณะก็รวมตัวกันมากๆ แบบไม่เป็นระเบียบ
> > จึงทำให้ภาพที่เรามองไปข้างหน้าบนถนน มี " ตัวกลาง " มากั้น
ซึ่งก็คือม่านน้ำฝน และละอองฝน ซึ่งตัวมันเองก็มีค่าดัชนีหักเหอยู่แล้ว
เมื่อบวกกับการสะท้อนแสง ของละอองฝน ทำให้ทัศนวิสัยจึงแย่มาก
แว่นกันแดดจึงกรองแสงจ้าที่เกิดการสะท้อนจากละอองฝนและสายฝนที่อาบอยู่
บนกระจกหน้ารถ ชนิดที่เรียกว่า ที่ปัดน้ำฝน speed ! แรงสุดก็เอาไม่อยู่ ออกไป
จึงทำให้ทัศนวิสัยในขณะขับรถตอนกลางคืน ฝนตกหนักเยี่ยมมาก
ดังนั้นจึงสามารถใช้ความเร็วได้ในระดับหนึ่ง และปลอดภัยมาก
ผมยังเชื่อว่า ถ้าเป็นตอนกลางวัน และฝนตกหนัก
ก็น่าจะใช้ได้เหมือนกัน ถึงจะยังไม่ได้ทดลอง
แต่คิดว่าน่าจะไม่มีปัญหาอะไร
ผมหวังว่าความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ตรงครั้งนี้
คงเป็นประโยชน์กับทุกคน
สุดท้ายนี้ภาพที่คมชัดขึ้นกับคุณภาพแว่นกันแดดด้วย
ปรีดา ลิ้มนนทกุล