หมอนพิงศีรษะ ( Head Rest ) เป็นอุปกรณ์นิรภัยที่มีใช้กันในรถยนต์
เพื่อให้ผู้ที่ขับขี่ได้รับความปลอดภัยสูงสุดในขณะเกิดอุบัติเหตุ
จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่สำรวจมีผู้ปรับตำแหน่งหมอนพิงศีรษะถูกต้องน้อยมาก
และส่วนใหญ่ก็เพราะบังเอิญไม่ได้ตั้งใจจะปรับให้อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย มีผู้ขับขี่และผู้โดยสาร
จำนวนไม่น้อยคิดว่า หมอนพิงศีรษะมีไว้ผ่อนคลายอาการเมื่อยล้า โดยเฉพาะบริเวณต้นคอ
และมักจะปรับให้หนุนคอเพื่อให้รู้สึกสบายแต่ในความเป็นจริงนั้นหมายถึงการลดโอกาสที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บขณะเกิดอุบัติเหตุ
วิศวกรและแพทย์ที่ทำงานด้านความปลอดภัยในรถยนต์มีความสนใจในด้านลักษณะอุบัติเหตุ
ซึ่งส่วนมากมักเป็นกันชนด้านหน้า และต่อมาในระยะหลังให้ความสนใจอาการบาดเจ็บของกระดูก
ต้นคอที่เกิดจากการถูกชนทางด้านหลัง เพราะการถูกชนในลักษณะนี้อาจทำให้มีการฉีกขาดของ
เอ็นยึดกระดูกต้นคอและจากการสะบัดไปมาของคอ จึงเรียกการบาดเจ็บชนิดนี้ว่า Whiplash
Injury ซึ่งมีการบาดเจ็บต่อกระดูกต้นคอและกล้ามเนื้อรอบๆ ทีเกิดอุบัติเหตุที่มีลักษณะเฉพาะ
คือ การนั่งอยู่ในรถ แล้วถูกชนท้ายอย่างกระทันหัน เมื่อถูกกระแทกมาจากด้านหลัง
ตัวจะพุ่งไปด้านหน้าอย่างรวดเร็ว ในขณะมีแรงเฉื่อยที่มีอยู่จะทำให้ศีรษะสะบัดไปด้านหลังแล้ว
สะบัดกลับไปด้านหน้าอย่างรวดเร็ว เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดในช่วงเวลาเพียง 0.2 วินาที
ผลที่ตามมา คือ รู้สึกปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ อาจจะมีอาการเจ็บเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรงมาก
เอ็นยึดกระดูกคอฉีกขาดเกิดอาการปวดต้นคออย่างรุนแรง และในบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อน
อื่นๆ เช่น อาการชาของแขน อาการหน้ามืดเกิดขึ้นได้
ผู้เชี่ยวชาญทางอุบัติเหตุท่านหนึ่งได้เขียนถึงเรื่องการปรับหมอนพิงศีรษะไว้อย่างน่าสนใจว่า
ยังมีความเข้าใจผิดกันมากเกี่ยวกับ Head Rest นี้ ที่จริงแล้วหมอนพิงศีรษะมีชื่อจริงว่า Head
Restraint ถ้าเมื่อใดมันถูกใช้เป็นตัว Rest คอ เมื่อนั้นก็ผิดจุดประสงค์ทันที
เพราะมันถูกออกแบบมาเป็นตัวให้ Restraint หมายถึง ให้การปกป้องต่อศีรษะและคอ
ถ้าถูกปรับให้ต่ำลงมาเพื่อหนุนคอให้สบายมันจะกลายสภาพเป็นจุดหมุนต่อต้นคอทันที นั่นคือ
ศีรษะจะสะบัดไปด้านหลังโดยมีหมอนพิงศีรษะเป็นตัวค้ำคอ
ทำให้ศีรษะสะบัดไปข้างหลังได้ดีและแรงยิ่งขึ้น
เมื่อผู้ขับขี่ปรับหมอนพิงศีรษะให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
มันจะป้องกันไม่ให้ศีรษะสะบัดไปด้านหลังอย่างรุนแรงจนเกิดอันตรายดังที่กล่าวมาแล้ว
เพื่อให้ผู้ที่ขับขี่ได้รับความปลอดภัยสูงสุดในขณะเกิดอุบัติเหตุ
จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่สำรวจมีผู้ปรับตำแหน่งหมอนพิงศีรษะถูกต้องน้อยมาก
และส่วนใหญ่ก็เพราะบังเอิญไม่ได้ตั้งใจจะปรับให้อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย มีผู้ขับขี่และผู้โดยสาร
จำนวนไม่น้อยคิดว่า หมอนพิงศีรษะมีไว้ผ่อนคลายอาการเมื่อยล้า โดยเฉพาะบริเวณต้นคอ
และมักจะปรับให้หนุนคอเพื่อให้รู้สึกสบายแต่ในความเป็นจริงนั้นหมายถึงการลดโอกาสที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บขณะเกิดอุบัติเหตุ
วิศวกรและแพทย์ที่ทำงานด้านความปลอดภัยในรถยนต์มีความสนใจในด้านลักษณะอุบัติเหตุ
ซึ่งส่วนมากมักเป็นกันชนด้านหน้า และต่อมาในระยะหลังให้ความสนใจอาการบาดเจ็บของกระดูก
ต้นคอที่เกิดจากการถูกชนทางด้านหลัง เพราะการถูกชนในลักษณะนี้อาจทำให้มีการฉีกขาดของ
เอ็นยึดกระดูกต้นคอและจากการสะบัดไปมาของคอ จึงเรียกการบาดเจ็บชนิดนี้ว่า Whiplash
Injury ซึ่งมีการบาดเจ็บต่อกระดูกต้นคอและกล้ามเนื้อรอบๆ ทีเกิดอุบัติเหตุที่มีลักษณะเฉพาะ
คือ การนั่งอยู่ในรถ แล้วถูกชนท้ายอย่างกระทันหัน เมื่อถูกกระแทกมาจากด้านหลัง
ตัวจะพุ่งไปด้านหน้าอย่างรวดเร็ว ในขณะมีแรงเฉื่อยที่มีอยู่จะทำให้ศีรษะสะบัดไปด้านหลังแล้ว
สะบัดกลับไปด้านหน้าอย่างรวดเร็ว เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดในช่วงเวลาเพียง 0.2 วินาที
ผลที่ตามมา คือ รู้สึกปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ อาจจะมีอาการเจ็บเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรงมาก
เอ็นยึดกระดูกคอฉีกขาดเกิดอาการปวดต้นคออย่างรุนแรง และในบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อน
อื่นๆ เช่น อาการชาของแขน อาการหน้ามืดเกิดขึ้นได้
ผู้เชี่ยวชาญทางอุบัติเหตุท่านหนึ่งได้เขียนถึงเรื่องการปรับหมอนพิงศีรษะไว้อย่างน่าสนใจว่า
ยังมีความเข้าใจผิดกันมากเกี่ยวกับ Head Rest นี้ ที่จริงแล้วหมอนพิงศีรษะมีชื่อจริงว่า Head
Restraint ถ้าเมื่อใดมันถูกใช้เป็นตัว Rest คอ เมื่อนั้นก็ผิดจุดประสงค์ทันที
เพราะมันถูกออกแบบมาเป็นตัวให้ Restraint หมายถึง ให้การปกป้องต่อศีรษะและคอ
ถ้าถูกปรับให้ต่ำลงมาเพื่อหนุนคอให้สบายมันจะกลายสภาพเป็นจุดหมุนต่อต้นคอทันที นั่นคือ
ศีรษะจะสะบัดไปด้านหลังโดยมีหมอนพิงศีรษะเป็นตัวค้ำคอ
ทำให้ศีรษะสะบัดไปข้างหลังได้ดีและแรงยิ่งขึ้น
เมื่อผู้ขับขี่ปรับหมอนพิงศีรษะให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
มันจะป้องกันไม่ให้ศีรษะสะบัดไปด้านหลังอย่างรุนแรงจนเกิดอันตรายดังที่กล่าวมาแล้ว
จากการทดลองเชื่อว่าระยะที่ดีที่สุดในการป้องกันคือ ต้องปรับความสูงของหมอนพิงศีรษะให้สูง
กว่าปลายบนสุดของใบหูและต้องให้มีระยะห่าง Backset น้อยกว่า 10 ชม.และถ้าสังเกตให้ดี
จะเห็นว่าการออกแบบลักษณะหมอนพิงศีรษะในหลายๆ รุ่น จะมีการงองุ้มมาด้านหน้า
เพื่อให้อยู่ใกล้ศีรษะที่สุด การตรวจสอบตำแหน่งง่ายๆ คือ ถ้าพิงตัวลงไปที่เบาะเต็มที่แล้วศีรษะ
ด้านหลังมีส่วนที่เป็นกะโหลกแข็ง ๆ ( Occiput ) สัมผัสกับหมอนพิงศีรษะ แสดงว่า
ปรับได้ตำแหน่งที่ปลอดภัย ถ้าพิงไปแล้วหมอนมารับท้ายทอยอย่างสบายเท่ากับว่าหมอนปรับต่ำเกิน
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ร่วมกันเสมอ และไม่ต้องเน้นอีกแล้ว ก็คือเข็มขัดนิรภัย
ถ้าปรับหมอนดีแต่ตัวพุ่งไปข้างหน้าก็ไม่มีประโยชน์อะไร
หมอนพิงศีรษะในอนาคต ปัญหาการใช้หมอนพิงศีรษะไม่ถูกต้องไม่ใช่แต่ในประเทศไทยเท่านั้น
แต่พบได้ทั่วโลก การแก้ปัญหาของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์หลายแห่ง จึงพยายามออกแบบให้หมอนพิง
ศีรษะสามารถขยับตัวมันเองเข้ามาป้องกันศีรษะและคอได้ในขณะที่เกิดอุบัติเหตุ เช่น
ในรถยนต์ยี่ห้อซาบรุ่น 9-5 และวอลโว่ รุ่น เอส 80 โดยมีหลักการทำงานที่สำคัญคือ
เมื่อเกิดการชนท้ายขึ้นหมอนพิงศีรษะจะหนุนขึ้นมาทำให้คอแหงนไปทางด้านหลังทันที
และทั้ง 2 ระบบทำงานด้านระบบกลไกไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์ แม้ว่าเรายังใช้หมอนพิงศีรษะที่
"โลว์เทค"กันไปสักนิด แต่ถ้าคุณปรับตำแหน่งได้ถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นต้องไปพึ่งพาหมอนพิงศีรษะ
ไฮเทคโนโลยีอะไรเลย ถ้าถูกชนท้ายครั้งหน้าก็ไม่ต้องเสียสตางค์ไปรักษาอาการคอเคล็ดอีกด้วย
ที่มา : นิตยสารรถอัพเกรด
กว่าปลายบนสุดของใบหูและต้องให้มีระยะห่าง Backset น้อยกว่า 10 ชม.และถ้าสังเกตให้ดี
จะเห็นว่าการออกแบบลักษณะหมอนพิงศีรษะในหลายๆ รุ่น จะมีการงองุ้มมาด้านหน้า
เพื่อให้อยู่ใกล้ศีรษะที่สุด การตรวจสอบตำแหน่งง่ายๆ คือ ถ้าพิงตัวลงไปที่เบาะเต็มที่แล้วศีรษะ
ด้านหลังมีส่วนที่เป็นกะโหลกแข็ง ๆ ( Occiput ) สัมผัสกับหมอนพิงศีรษะ แสดงว่า
ปรับได้ตำแหน่งที่ปลอดภัย ถ้าพิงไปแล้วหมอนมารับท้ายทอยอย่างสบายเท่ากับว่าหมอนปรับต่ำเกิน
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ร่วมกันเสมอ และไม่ต้องเน้นอีกแล้ว ก็คือเข็มขัดนิรภัย
ถ้าปรับหมอนดีแต่ตัวพุ่งไปข้างหน้าก็ไม่มีประโยชน์อะไร
หมอนพิงศีรษะในอนาคต ปัญหาการใช้หมอนพิงศีรษะไม่ถูกต้องไม่ใช่แต่ในประเทศไทยเท่านั้น
แต่พบได้ทั่วโลก การแก้ปัญหาของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์หลายแห่ง จึงพยายามออกแบบให้หมอนพิง
ศีรษะสามารถขยับตัวมันเองเข้ามาป้องกันศีรษะและคอได้ในขณะที่เกิดอุบัติเหตุ เช่น
ในรถยนต์ยี่ห้อซาบรุ่น 9-5 และวอลโว่ รุ่น เอส 80 โดยมีหลักการทำงานที่สำคัญคือ
เมื่อเกิดการชนท้ายขึ้นหมอนพิงศีรษะจะหนุนขึ้นมาทำให้คอแหงนไปทางด้านหลังทันที
และทั้ง 2 ระบบทำงานด้านระบบกลไกไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์ แม้ว่าเรายังใช้หมอนพิงศีรษะที่
"โลว์เทค"กันไปสักนิด แต่ถ้าคุณปรับตำแหน่งได้ถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นต้องไปพึ่งพาหมอนพิงศีรษะ
ไฮเทคโนโลยีอะไรเลย ถ้าถูกชนท้ายครั้งหน้าก็ไม่ต้องเสียสตางค์ไปรักษาอาการคอเคล็ดอีกด้วย
ที่มา : นิตยสารรถอัพเกรด