รักษาสีรถให้ถูกวิธี อาบน้ำประแป้งแต่งตัวให้รถคันเก่งกันดีกว่า
พูดถึงเรื่องการขัดสีรถกิจกรรมนี้มันค่อนข้างจะต้องใช้ทั้งเวลาและแรงงานกันมากพอดู แต่ทราบกันหรือไม่ว่า
การลงทุนเสียเวลาเสียแรงในการขัดสีรถนั้นพอเทียบกับความเงางามและความทนทานของสีรถที่ได้รับ
ถือว่าคุ้มค่ามาก เนื่องจากไม่ได้ต้องขัดกันทุกวันทุกสัปดาห์หรือทุกเดือนเพียงแค่ 3 เดือนต่อครั้งเท่านั้น
สีรถก็จะดูดีแวววาวสวยงามและเหมือนรถใหม่เสมอ
ที่นี้การจะเลือกใช้น้ำยาขัดเคลือบสีรถของยี่ห้อไหนหรือผลิตภัณฑ์ของใครนั้น สมควรอย่างยิ่งที่เจ้าของรถ จะต้อง
ทำความรู้จักคุณสมบัติเฉพาะตัวของสินค้ายี่ห้อนั้น ๆ เอาไว้ด้วย
อย่างน้อยตัวหนังสือที่เขาพิมพ์ไว้ข้างกระป๋องนั่น ถ้าตั้งใจอ่านก็พอจะได้ความรู้อยู่บ้าง
ควรเล่นให้ครบทุกกระบวนท่า การขัดเคลือบสีรถนั้นไม่ใช่ขึ้นต้นมาก็ลงมือขัดกันเลย
เพราะถ้าหากต้องการให้สีรถออกมาดูดีที่สุด ก็ควรจะต้องทำให้ครบทุกขั้นตอน
เนื่องจากในการขัดสีรถจะต้องเริ่มตั้งแต่การขจัดเศษฝุ่นละอองไปจนถึงการเคลือบป้องกันรังสี UV กันเลย
กระบวนการหรือกรรมวิธีเคลือบสีนี้จะแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้หลายขั้น
ซึ่งหากคุณใช้วิธีขับรถไปเข้าคาร์แคร์ก็ไม่เป็นไร เพราะเขาจะจัดการให้เสร็จเรียบร้อยทุกอย่าง
แต่ถ้าไปเข้าร้านที่ไม่ค่อยลงทุนสักเท่าไหร่ ขั้นตอนต่าง ๆ ก็จะถูก “หด” ลงไป
รวมทั้งคุณภาพของตัวน้ำยาที่ใช้ก็เป็นเกรดธรรมดาหรือต่ำกว่าธรรมดา
(เพราะต้องการดึงราคาค่าบริการให้ต่ำลงจนดึงดูดความสนใจ) บางทีแทนที่จะเป็นการรักษาสีรถ
ก็กลายเป็นทำลายสีรถไปเลย จึงอยากแนะนำให้เดินหาซื้อมาด้วยตนเองจะดีที่สุด
เพราะเราสามารถเลือกระดับคุณภาพของตัวน้ำยาเหล่านี้ได้
ข้อควรคำนึง คือ ควรใช้ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาล้าง ขึ้นผึ้งและครีมขัดในทุกขั้นตอน
สาเหตุหนึ่งที่บอกว่าควรใช้ยี่ห้อเดียวกันก็เพราะสารประกอบที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ยี่ห้อเดียวกันนั้นจะไม่ขัดกันเอง
การนำของต่างยี่ห้อมาใช้งานร่วมกันซึ่งบางครั้งสารเคมีที่ใช้อาจจะเป็นคนละตัวและมีฤทธิ์หักล้างซึ่งกันและกัน
มาเริ่มต้นที่กระบวนการขัดเคลือบสีรถกันดีกว่า
ขั้นแรกคือการเลือกซื้อน้ำยาให้ครบชุด ซึ่งจะประกอบด้วย น้ำยาล้างรถชนิดที่เป็นแชมพู
บางคนอาจจบอกใช้แชมพูสระผมก็ได้ อันนั้นเป็นความคิดที่ผิด อย่าไปเอาอย่างพวกล้างแท็กซี่เลย
รถเราราคาตั้งหลายแสนหลายล้านแล้วก็ไม่ใช่รถสาธารณะด้วย ทำไมถึงไม่ได้ล่ะ ? จะบอกให้ว่า
ตัวสูตรผสมของแชมพูทั้งสองชนิดนั้นจะมีพื้นฐานเดียวกันคือ จะมีสารที่ทำให้เกิดฟองเหมือนกัน
แต่ต่างกันอยู่ตรงที่ตัวทำความสะอาดไม่ทำอันตรายต่อสีรถแล้วยังต้องช่วยรักษาความเงาของเนื้อสีเอาไว้ให้ได้ด้วย
นั้นคือ คุณสมบัติที่รถยนต์ต้องการ ส่วนสำหรับเส้นผมเขาก็ต้องผสมสารต่าง ๆ มาให้เพื่อใช้กับเส้นผมโดยเฉพาะ
ซึ่งสารพวกนั้นสีรถไม่ต้องการ ใช้ไปนาน ๆ เข้าสีรถจะเริ่มด้านขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน
เริ่มต้นขั้นตอนกันตั้งแต่การทำความสะอาดรถเสียก่อน
โดยใช้ไม้ขนไก่ปัดฝุ่นผงต่าง ๆ ออกเป็นอันดับแรกด้วยวิธีปัดไล่ไปทางเดียวตรง ๆ
อย่าปัดย้อนไปมาเด็ดขาดเพราะจะเท่ากับพาเอาฝุ่นผงกลับมาที่เดิม แถมเป็นการขัดสี (ให้เป็นรอย)ไปอีกด้วย
จากนั้นให้ใช้น้ำยาล้างรถผสมกับน้ำเปล่าในอัตราส่วนที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งปกติก็จะอยู่ประมาณ ฝาต่อ 1 แกลลอน
(คิดแบบไทย ๆ ก็ 1 ฝาต่อน้ำ 1 ถัง) สำหรับรถขนาดเล็ก และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามขนาดของตัวรถที่โตขึ้น
การล้างรถที่ให้ผลดีที่สุดจะต้องใช้ฟองน้ำ 2 แผ่น หลังจากฉีดน้ำเปลา เพื่อล้างฝุ่นไปรอบหนึ่งแล้ว
ให้เอาฟองน้ำแผ่นแรกล้างส่วนบนของตัวรถตั้งแต่หลังคาไล่ลงมาถึงประมาณส่วนกลางของตัวรถ
ล้างให้รอบคันเสร็จแล้วจึงเปลี่ยนฟองน้ำอันใหม่มาจัดการล้างส่วนด้านล่างต่อให้จบ
เหตุที่ต้องให้เปลี่ยนฟองน้ำถึง 2 อันก็เพราะว่าอันแรกจะล้างส่วนบนที่ไม่ค่อยจะมีเศษฝุ่นทราย
แต่ส่วนล่างจะมีฝุ่นทรายมาก หากใช้แผ่นเดียวแล้วพอนำเอามาล้างครั้งต่อไปเศษฝุ่นทรายที่ตกค้างอยู่ในฟองน้ำ
จะออกมาถูกับสีให้เป็นรอยตามมาได้อีก หลังจากล้างด้วยฟองน้ำจนทั่วทุกส่วนแล้วจึงใช้น้ำสะอาดล้างฟองออก
ให้หมด แล้วใช้ผ้าสะอาด ๆ มาเช็ดน้ำที่ตกค้างออกให้แห้ง
(ถ้าได้พวกชามัวร์มาเช็ดก็จะทำงานง่ายขึ้นเพราะผ้าชามัวส์นั้นสามารถจะซับน้ำออกได้เร็วกว่าผ้าธรรมดา)
ด่านสองต้องครีม
การขจัดริ้วรอยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ลึกมาก อย่างที่เรียกกันว่า “ขนแมว”ออกจะต้องใช้ยาขัดที่มีลักษณะคล้ายกับ
ยาขัดสีของพวกอู่สีเขาแต่ต้องมีเนื้อละเอียดมากกว่าจะได้ไม่เกิดรอยใหม่ขึ้นมาแทนที่ของเดิม
ครีมที่ใช้นี้จะเป็นครีมสูตรเดียวกับของวงการเครื่องประดับที่เขาใช้ขัดรอยขีดข่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ ออก
เมื่อสำรวจตรวจหารอยจนครบแล้ว หากต้องการจะขัดออกก็ให้ใช้ครีมชนิดนี้พร้อมกับผ้าสำลี (ใช้งานดีที่สุด)
มาขัดเบา ๆ ตามแนวของรอยขีดนั้น ๆ ไม่ต้องออกแรงมากมายเหมือนซักรองเท้าผ้าใบ แล้วเราก็จะเห็นว่า
รอยขีดข่วนเล็ก ๆ เหลือน้อยลงหรือหายไปเลย ลบรอยกันแล้วก็มาถึงการขัดสีด้วยครีมขั้นตอนแรกกัน
ครีมที่ใช้จะเป็นแบบที่ผสมด้วย “น้ำมันคาร์นูบา” เพื่อใช้สำหรับขัดทำความสะอาด ขจัดคราบสกปรก
และคราบสนิมรวมทั้งคราบเขม่าจากท่อไอเสีย (รถบางรุ่นจะโดนเขม่าจากท่อไอเสียเป็นปกติจากโรงงานเลย)
วิธีการขัดให้ใช้ฟองน้ำหรือผ้าแตะน้ำยาเล็กน้อยทาในลักษณะวน ๆ ให้เป็นก้นหอยให้ทั่วทั้งคัน
ครบทุกส่วนที่เป็นสีก็พอดีกับจุดที่เราเริ่มทายาขัดแห้งใช้การได้พอดีแล้ว
ขั้นตอนนี้ยากที่สุด
เนื่องจากการขัดสีรอบนี้จะต้องออกแรงมากพอสมควร เพื่อปรับสภาพพื้นผิวให้เรียบขึ้น
และยังต้องกำจัดเอาเศษคราบสกปรกที่ฝังติดแน่นออกให้หมด (เจ้าเศษสิ่งสกปรกที่ติดมานั้น ส่วนใหญ่ก็จะมาจาก
เศษน้ำมันปนกับเขม่าควันและฝุ่นละอองในทุกแห่งที่รถของเราผ่านไปนั้นเอง ซึ่งไม่มีทางหลีกเลี่ยงเสียด้วย)
และในทันทีที่ออกแรงขัดออกหมดแล้วก็จะเห็นว่าสีของรถคุณเริ่มขึ้นเงาและผิวสีจะลื่นขึ้นจนสังเกตได้
ด่านสาม อุดและเคลือบ
หวังว่าคงยังไม่เหนื่อยกันนัก มาเริ่มต้นขั้นตอนต่อไปเลยดีกว่า หลังจากที่เราจัดการกับรอยขนแมวและ
คราบสิ่งสกปรกบนพื้นผิวเสร็จไปอีกหนึ่งขั้นตอนแล้ว ถึงตรงนี้ถ้าหากปล่อยเอาไว้อย่างนั้นไม่ลงมือขั้นต่อไปก็จะ
เท่ากับเราได้ขัดสีรถแล้วปล่อยเอาไว้เฉย ๆ เมื่อนำรถออกไปใช้งาน บรรดาสิ่งสกปรกต่าง ๆ ในบรรยากาศก็จะ
เข้ามาเกาะติดกับสีรถได้อีก ดังนั้นเพื่อให้การขัดสีครั้งนี้ไม่เสียเปล่าจะต้องขัดด้วยครีมหรือขึ้ผึ้งเคลือบสีอีกรอบหนึ่ง
ในขั้นตอนการเคลือบสีนี้
เราสามารถจะเลือกใช้ได้ทั้งแบบครีมและขึ้ผิ้ง เนื่องจากทั้งสองชนิดทำจากเรซิ่นที่มีความหนืดสูง และมีความไวต่อ
อากาศ พร้อมด้วยส่วนประกอบของสารเทฟล่อน สุดท้ายก็จะเป็นสารสำหรับชักเงาทำให้การขัดสีง่ายขึ้น
เราสามารถแยกคุณสมบัติต่าง ๆ ของสารที่เติมเข้าไปมาได้คร่าว ๆ ดังนี้
เรซิ่นพิเศษที่ผสมอยู่นี้จะยึดติดกับผิวสี ช่วยอุดลบร่องรอยขีดข่วนเล็กๆ ทำให้สีรถดูเรียบ เป็นเงา
และกลายเป็นผิวเคลือบที่เป็นเงาใส ๆ เพิ่มความเงางามให้กับสีรถได้อีกส่วนหนึ่ง
และสารเทฟล่อนจะทำหน้าที่ช่วยให้เกิดความลื่น เคลือบสีให้เกิดความคงทนยิ่งขึ้น
รวมทั้งช่วยป้องกันสีรถจากการกัดกร่อนของพวกกรดหรือด่างในน้ำในขี้นกในยางไม่ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
จุดเด่นอีกประการหนึ่ง คือ สามารถป้องกันรังสี UV อันเป็นตัวการทำลายสีรถให้ซีดจางได้ด้วย
กรรมวิธีการขัดให้ทำเช่นเดียวกับที่ลงมือไปเมื่อรอบที่แล้วคือ ใช้ฟองน้ำที่มีมาอยู่ในกล่องแตะครีมหรือขี้ผึ้งเล็กน้อย
ค่อย ๆ วน ๆ เป็นก้นหอย ทาให้ทั่วทั้งคัน จากนั้นจึงใช้ผ้าสำลีสะอาด ๆ มาเช็ดออกอีกทีหนึ่ง
งานรอบนี้จะเบาแรงขึ้นพอสมควรที่เยวเพราะเศษสิ่งสกปรกถูกกำจัดออกไปแล้วครั้งหนึ่ง
ขั้นตอนสุดท้าย
งานขัดเคลือบสีในขั้นตอนสุดท้ายนี้จะเป็นการเคลือบเงาปิดท้ายอีกชั้นหนึ่งเพราะขึ้นผิ้งตัวสุดท้ายนี้จะมีคุณสมบัติ
ในการป้องกันผิวสีให้มีความคงทน เงางามเป็นประกาย
และยังช่วยป้องกันรังสี UV จากแสงแดดไม่ให้ทำอันตรายต่อสีรถได้อีกระดับหนึ่งที่เหนือไปกว่าขั้นที่แล้ว
กระบวนการขัดครีมขั้นสุดท้ายนี้ จะเป็นขั้นตอนที่เบาแรงขึ้นอีกหน่อย เพราะขี้ผึ้งตัวนี้เราจะใช้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ค่อยๆ ขัดเบาๆ เป็นก้นหอยให้ทั่ว แล้วเช็ดออกด้วยผ้าสำลีสะอาด ๆ เพียงเท่านี้สีรถก็จะกลับมาเงาวับในทันที
ขอเตือนเอาไว้สักหน่อยว่า การทำงานทั้งหมดนี้จะต้องปฏิบัติในร่มในเงาของหลังคาเท่านั้น
หากไปเล่นขัดสีกันกลางแสงแดดจะทำให้ยาขัดแห้งไม่เท่ากัน และเห็นผล (ร้าย)ได้ตอนที่เมื่อเช็ดออกแล้ว
สีจะเงาไม่เสมอกัน นอกจานั้นยังทำให้ระยะเวลาที่น้ำยาจะทำปฏิกิริยากับผิวสีมีน้อยลงซึ่งเป็นเรื่องสำคัญพอสมควร
เราสามารถทำเมื่อไรก็ได้ตามต้องการ แต่การขัดและเคลือบสีนั้น ไม่จำเป็นจะต้องทำทุกครั้งที่ล้างก็ได้
เพราะเมื่อขัดและเคลือบครั้งหนึ่งแล้วจะมีอายุยืนยาวไปได้ถึงประมาณ 6 เดือน
ที่มา :หนังสือ Do It Yourself
การลงทุนเสียเวลาเสียแรงในการขัดสีรถนั้นพอเทียบกับความเงางามและความทนทานของสีรถที่ได้รับ
ถือว่าคุ้มค่ามาก เนื่องจากไม่ได้ต้องขัดกันทุกวันทุกสัปดาห์หรือทุกเดือนเพียงแค่ 3 เดือนต่อครั้งเท่านั้น
สีรถก็จะดูดีแวววาวสวยงามและเหมือนรถใหม่เสมอ
ที่นี้การจะเลือกใช้น้ำยาขัดเคลือบสีรถของยี่ห้อไหนหรือผลิตภัณฑ์ของใครนั้น สมควรอย่างยิ่งที่เจ้าของรถ จะต้อง
ทำความรู้จักคุณสมบัติเฉพาะตัวของสินค้ายี่ห้อนั้น ๆ เอาไว้ด้วย
อย่างน้อยตัวหนังสือที่เขาพิมพ์ไว้ข้างกระป๋องนั่น ถ้าตั้งใจอ่านก็พอจะได้ความรู้อยู่บ้าง
ควรเล่นให้ครบทุกกระบวนท่า การขัดเคลือบสีรถนั้นไม่ใช่ขึ้นต้นมาก็ลงมือขัดกันเลย
เพราะถ้าหากต้องการให้สีรถออกมาดูดีที่สุด ก็ควรจะต้องทำให้ครบทุกขั้นตอน
เนื่องจากในการขัดสีรถจะต้องเริ่มตั้งแต่การขจัดเศษฝุ่นละอองไปจนถึงการเคลือบป้องกันรังสี UV กันเลย
กระบวนการหรือกรรมวิธีเคลือบสีนี้จะแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้หลายขั้น
ซึ่งหากคุณใช้วิธีขับรถไปเข้าคาร์แคร์ก็ไม่เป็นไร เพราะเขาจะจัดการให้เสร็จเรียบร้อยทุกอย่าง
แต่ถ้าไปเข้าร้านที่ไม่ค่อยลงทุนสักเท่าไหร่ ขั้นตอนต่าง ๆ ก็จะถูก “หด” ลงไป
รวมทั้งคุณภาพของตัวน้ำยาที่ใช้ก็เป็นเกรดธรรมดาหรือต่ำกว่าธรรมดา
(เพราะต้องการดึงราคาค่าบริการให้ต่ำลงจนดึงดูดความสนใจ) บางทีแทนที่จะเป็นการรักษาสีรถ
ก็กลายเป็นทำลายสีรถไปเลย จึงอยากแนะนำให้เดินหาซื้อมาด้วยตนเองจะดีที่สุด
เพราะเราสามารถเลือกระดับคุณภาพของตัวน้ำยาเหล่านี้ได้
ข้อควรคำนึง คือ ควรใช้ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาล้าง ขึ้นผึ้งและครีมขัดในทุกขั้นตอน
สาเหตุหนึ่งที่บอกว่าควรใช้ยี่ห้อเดียวกันก็เพราะสารประกอบที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ยี่ห้อเดียวกันนั้นจะไม่ขัดกันเอง
การนำของต่างยี่ห้อมาใช้งานร่วมกันซึ่งบางครั้งสารเคมีที่ใช้อาจจะเป็นคนละตัวและมีฤทธิ์หักล้างซึ่งกันและกัน
มาเริ่มต้นที่กระบวนการขัดเคลือบสีรถกันดีกว่า
ขั้นแรกคือการเลือกซื้อน้ำยาให้ครบชุด ซึ่งจะประกอบด้วย น้ำยาล้างรถชนิดที่เป็นแชมพู
บางคนอาจจบอกใช้แชมพูสระผมก็ได้ อันนั้นเป็นความคิดที่ผิด อย่าไปเอาอย่างพวกล้างแท็กซี่เลย
รถเราราคาตั้งหลายแสนหลายล้านแล้วก็ไม่ใช่รถสาธารณะด้วย ทำไมถึงไม่ได้ล่ะ ? จะบอกให้ว่า
ตัวสูตรผสมของแชมพูทั้งสองชนิดนั้นจะมีพื้นฐานเดียวกันคือ จะมีสารที่ทำให้เกิดฟองเหมือนกัน
แต่ต่างกันอยู่ตรงที่ตัวทำความสะอาดไม่ทำอันตรายต่อสีรถแล้วยังต้องช่วยรักษาความเงาของเนื้อสีเอาไว้ให้ได้ด้วย
นั้นคือ คุณสมบัติที่รถยนต์ต้องการ ส่วนสำหรับเส้นผมเขาก็ต้องผสมสารต่าง ๆ มาให้เพื่อใช้กับเส้นผมโดยเฉพาะ
ซึ่งสารพวกนั้นสีรถไม่ต้องการ ใช้ไปนาน ๆ เข้าสีรถจะเริ่มด้านขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน
เริ่มต้นขั้นตอนกันตั้งแต่การทำความสะอาดรถเสียก่อน
โดยใช้ไม้ขนไก่ปัดฝุ่นผงต่าง ๆ ออกเป็นอันดับแรกด้วยวิธีปัดไล่ไปทางเดียวตรง ๆ
อย่าปัดย้อนไปมาเด็ดขาดเพราะจะเท่ากับพาเอาฝุ่นผงกลับมาที่เดิม แถมเป็นการขัดสี (ให้เป็นรอย)ไปอีกด้วย
จากนั้นให้ใช้น้ำยาล้างรถผสมกับน้ำเปล่าในอัตราส่วนที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งปกติก็จะอยู่ประมาณ ฝาต่อ 1 แกลลอน
(คิดแบบไทย ๆ ก็ 1 ฝาต่อน้ำ 1 ถัง) สำหรับรถขนาดเล็ก และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามขนาดของตัวรถที่โตขึ้น
การล้างรถที่ให้ผลดีที่สุดจะต้องใช้ฟองน้ำ 2 แผ่น หลังจากฉีดน้ำเปลา เพื่อล้างฝุ่นไปรอบหนึ่งแล้ว
ให้เอาฟองน้ำแผ่นแรกล้างส่วนบนของตัวรถตั้งแต่หลังคาไล่ลงมาถึงประมาณส่วนกลางของตัวรถ
ล้างให้รอบคันเสร็จแล้วจึงเปลี่ยนฟองน้ำอันใหม่มาจัดการล้างส่วนด้านล่างต่อให้จบ
เหตุที่ต้องให้เปลี่ยนฟองน้ำถึง 2 อันก็เพราะว่าอันแรกจะล้างส่วนบนที่ไม่ค่อยจะมีเศษฝุ่นทราย
แต่ส่วนล่างจะมีฝุ่นทรายมาก หากใช้แผ่นเดียวแล้วพอนำเอามาล้างครั้งต่อไปเศษฝุ่นทรายที่ตกค้างอยู่ในฟองน้ำ
จะออกมาถูกับสีให้เป็นรอยตามมาได้อีก หลังจากล้างด้วยฟองน้ำจนทั่วทุกส่วนแล้วจึงใช้น้ำสะอาดล้างฟองออก
ให้หมด แล้วใช้ผ้าสะอาด ๆ มาเช็ดน้ำที่ตกค้างออกให้แห้ง
(ถ้าได้พวกชามัวร์มาเช็ดก็จะทำงานง่ายขึ้นเพราะผ้าชามัวส์นั้นสามารถจะซับน้ำออกได้เร็วกว่าผ้าธรรมดา)
ด่านสองต้องครีม
การขจัดริ้วรอยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ลึกมาก อย่างที่เรียกกันว่า “ขนแมว”ออกจะต้องใช้ยาขัดที่มีลักษณะคล้ายกับ
ยาขัดสีของพวกอู่สีเขาแต่ต้องมีเนื้อละเอียดมากกว่าจะได้ไม่เกิดรอยใหม่ขึ้นมาแทนที่ของเดิม
ครีมที่ใช้นี้จะเป็นครีมสูตรเดียวกับของวงการเครื่องประดับที่เขาใช้ขัดรอยขีดข่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ ออก
เมื่อสำรวจตรวจหารอยจนครบแล้ว หากต้องการจะขัดออกก็ให้ใช้ครีมชนิดนี้พร้อมกับผ้าสำลี (ใช้งานดีที่สุด)
มาขัดเบา ๆ ตามแนวของรอยขีดนั้น ๆ ไม่ต้องออกแรงมากมายเหมือนซักรองเท้าผ้าใบ แล้วเราก็จะเห็นว่า
รอยขีดข่วนเล็ก ๆ เหลือน้อยลงหรือหายไปเลย ลบรอยกันแล้วก็มาถึงการขัดสีด้วยครีมขั้นตอนแรกกัน
ครีมที่ใช้จะเป็นแบบที่ผสมด้วย “น้ำมันคาร์นูบา” เพื่อใช้สำหรับขัดทำความสะอาด ขจัดคราบสกปรก
และคราบสนิมรวมทั้งคราบเขม่าจากท่อไอเสีย (รถบางรุ่นจะโดนเขม่าจากท่อไอเสียเป็นปกติจากโรงงานเลย)
วิธีการขัดให้ใช้ฟองน้ำหรือผ้าแตะน้ำยาเล็กน้อยทาในลักษณะวน ๆ ให้เป็นก้นหอยให้ทั่วทั้งคัน
ครบทุกส่วนที่เป็นสีก็พอดีกับจุดที่เราเริ่มทายาขัดแห้งใช้การได้พอดีแล้ว
ขั้นตอนนี้ยากที่สุด
เนื่องจากการขัดสีรอบนี้จะต้องออกแรงมากพอสมควร เพื่อปรับสภาพพื้นผิวให้เรียบขึ้น
และยังต้องกำจัดเอาเศษคราบสกปรกที่ฝังติดแน่นออกให้หมด (เจ้าเศษสิ่งสกปรกที่ติดมานั้น ส่วนใหญ่ก็จะมาจาก
เศษน้ำมันปนกับเขม่าควันและฝุ่นละอองในทุกแห่งที่รถของเราผ่านไปนั้นเอง ซึ่งไม่มีทางหลีกเลี่ยงเสียด้วย)
และในทันทีที่ออกแรงขัดออกหมดแล้วก็จะเห็นว่าสีของรถคุณเริ่มขึ้นเงาและผิวสีจะลื่นขึ้นจนสังเกตได้
ด่านสาม อุดและเคลือบ
หวังว่าคงยังไม่เหนื่อยกันนัก มาเริ่มต้นขั้นตอนต่อไปเลยดีกว่า หลังจากที่เราจัดการกับรอยขนแมวและ
คราบสิ่งสกปรกบนพื้นผิวเสร็จไปอีกหนึ่งขั้นตอนแล้ว ถึงตรงนี้ถ้าหากปล่อยเอาไว้อย่างนั้นไม่ลงมือขั้นต่อไปก็จะ
เท่ากับเราได้ขัดสีรถแล้วปล่อยเอาไว้เฉย ๆ เมื่อนำรถออกไปใช้งาน บรรดาสิ่งสกปรกต่าง ๆ ในบรรยากาศก็จะ
เข้ามาเกาะติดกับสีรถได้อีก ดังนั้นเพื่อให้การขัดสีครั้งนี้ไม่เสียเปล่าจะต้องขัดด้วยครีมหรือขึ้ผึ้งเคลือบสีอีกรอบหนึ่ง
ในขั้นตอนการเคลือบสีนี้
เราสามารถจะเลือกใช้ได้ทั้งแบบครีมและขึ้ผิ้ง เนื่องจากทั้งสองชนิดทำจากเรซิ่นที่มีความหนืดสูง และมีความไวต่อ
อากาศ พร้อมด้วยส่วนประกอบของสารเทฟล่อน สุดท้ายก็จะเป็นสารสำหรับชักเงาทำให้การขัดสีง่ายขึ้น
เราสามารถแยกคุณสมบัติต่าง ๆ ของสารที่เติมเข้าไปมาได้คร่าว ๆ ดังนี้
เรซิ่นพิเศษที่ผสมอยู่นี้จะยึดติดกับผิวสี ช่วยอุดลบร่องรอยขีดข่วนเล็กๆ ทำให้สีรถดูเรียบ เป็นเงา
และกลายเป็นผิวเคลือบที่เป็นเงาใส ๆ เพิ่มความเงางามให้กับสีรถได้อีกส่วนหนึ่ง
และสารเทฟล่อนจะทำหน้าที่ช่วยให้เกิดความลื่น เคลือบสีให้เกิดความคงทนยิ่งขึ้น
รวมทั้งช่วยป้องกันสีรถจากการกัดกร่อนของพวกกรดหรือด่างในน้ำในขี้นกในยางไม่ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
จุดเด่นอีกประการหนึ่ง คือ สามารถป้องกันรังสี UV อันเป็นตัวการทำลายสีรถให้ซีดจางได้ด้วย
กรรมวิธีการขัดให้ทำเช่นเดียวกับที่ลงมือไปเมื่อรอบที่แล้วคือ ใช้ฟองน้ำที่มีมาอยู่ในกล่องแตะครีมหรือขี้ผึ้งเล็กน้อย
ค่อย ๆ วน ๆ เป็นก้นหอย ทาให้ทั่วทั้งคัน จากนั้นจึงใช้ผ้าสำลีสะอาด ๆ มาเช็ดออกอีกทีหนึ่ง
งานรอบนี้จะเบาแรงขึ้นพอสมควรที่เยวเพราะเศษสิ่งสกปรกถูกกำจัดออกไปแล้วครั้งหนึ่ง
ขั้นตอนสุดท้าย
งานขัดเคลือบสีในขั้นตอนสุดท้ายนี้จะเป็นการเคลือบเงาปิดท้ายอีกชั้นหนึ่งเพราะขึ้นผิ้งตัวสุดท้ายนี้จะมีคุณสมบัติ
ในการป้องกันผิวสีให้มีความคงทน เงางามเป็นประกาย
และยังช่วยป้องกันรังสี UV จากแสงแดดไม่ให้ทำอันตรายต่อสีรถได้อีกระดับหนึ่งที่เหนือไปกว่าขั้นที่แล้ว
กระบวนการขัดครีมขั้นสุดท้ายนี้ จะเป็นขั้นตอนที่เบาแรงขึ้นอีกหน่อย เพราะขี้ผึ้งตัวนี้เราจะใช้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ค่อยๆ ขัดเบาๆ เป็นก้นหอยให้ทั่ว แล้วเช็ดออกด้วยผ้าสำลีสะอาด ๆ เพียงเท่านี้สีรถก็จะกลับมาเงาวับในทันที
ขอเตือนเอาไว้สักหน่อยว่า การทำงานทั้งหมดนี้จะต้องปฏิบัติในร่มในเงาของหลังคาเท่านั้น
หากไปเล่นขัดสีกันกลางแสงแดดจะทำให้ยาขัดแห้งไม่เท่ากัน และเห็นผล (ร้าย)ได้ตอนที่เมื่อเช็ดออกแล้ว
สีจะเงาไม่เสมอกัน นอกจานั้นยังทำให้ระยะเวลาที่น้ำยาจะทำปฏิกิริยากับผิวสีมีน้อยลงซึ่งเป็นเรื่องสำคัญพอสมควร
เราสามารถทำเมื่อไรก็ได้ตามต้องการ แต่การขัดและเคลือบสีนั้น ไม่จำเป็นจะต้องทำทุกครั้งที่ล้างก็ได้
เพราะเมื่อขัดและเคลือบครั้งหนึ่งแล้วจะมีอายุยืนยาวไปได้ถึงประมาณ 6 เดือน
ที่มา :หนังสือ Do It Yourself